เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรฐาน

ไอเอสโอร่วมต่อสู้กับมหันตภัยภาวะโลกร้อน

ในมุมมองของชีลา เล็กเก็ตต์ ไอเอสโอมีมาตรฐานทั้งหมดที่จำเป็นในการสนับสนุนวาระสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือหาวิธีจัดกลุ่มมาตรฐานที่ส่งเสริมให้มีการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังมีร่างมาตรฐานใหม่ในสาขานี้ที่ต้องทำทั้งหมดอีกจำนวนหนึ่งด้วย

ก้าวทันเศรษฐกิจโลก…ไอเอสโอแนะนำมาตรฐานสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

ไอเอสโอเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้นของธุรกิจขนาดเล็กเป็นอย่างดี ในภาวะที่ทั่วโลกประสบกับภาวะเศรษฐกิจผันผวนเช่นนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจำเป็นต้องฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อยืนหยัดและก้าวไปข้างหน้าให้ได้ อันที่จริงแล้ว มาตรฐานไม่ได้มีไว้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าไอเอสโอให้ความสำคัญกับธุรกิจทุกประเภทรวมทั้งธุรกิจขนาดเล็กและเอสเอ็มอีโดยในการพัฒนามาตรฐาน จะคำนึงถึงธุรกิจทุกประเภทให้สามารถนำมาตรฐานไปใช้ได้เช่นเดียวกัน

มาตรฐานสากลที่ส่งเสริมผู้สูงวัยใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ตอนที่ 2

สิ่งที่ไอเอสโอดำเนินการอยู่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงวิกฤตที่เกิดขึ้นกับสังคมสูงวัย แต่เป็นการเปลี่ยนวิธีการคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่มีมาหลายชั่วอายุคนเพื่อสนับสนุนคนทุกรุ่นทุกวัยให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี เมื่อเราทำลายสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่าง ๆ ลงได้แล้ว เราก็จะสามารถเปลี่ยนชุมชนของเราให้เป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตและก้าวสู่การเป็นผู้สูงอายุได้อย่างสง่างาม เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อทั้งตนเอง ชุมชนและสังคมต่อไป

มาตรฐานสากลที่ส่งเสริมผู้สูงวัยใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ตอนที่ 1

การต่อสู้ในยุคที่มีสังคมสูงวัยมากขึ้นทั่วโลกมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโลกที่เท่าเทียมกันมากขึ้น สิทธิและศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องต่อผู้สูงวัยจำเป็นต้องได้รับการเยียวยา ด้วยเหตุนี้เอง ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานพร้อมแนวทางแก้ไขเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC314, Aging Societies ซึ่งแร ดูลมาจ หนึ่งในผู้ร่วมประชุมของคณะกรรมการด้านเทคนิค เชื่อมั่นว่าระบบสุขภาพและการดูแลระยะยาวจะต้องสอดคล้องกันเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมสูงอายุได้

รู้ลึก รู้รอบ – รู้จัก LCA

องค์กรที่มีการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) จะมีความรู้เชิงลึกและรอบด้านในผลิตภัณฑ์ของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถประหยัดวัตถุดิบและพลังงาน มีหลักในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีคุณภาพ สามารถลดของเสียที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ทำให้การบำบัดมลพิษมีต้นทุนน้อยลง ช่วยลดปริมาณและการสะสมความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

มาตรฐานไอเอสโอกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มาตรฐานไอเอสโอมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากไอเอสโอจะพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมโดยตรงแล้ว ไอเอสโอยังได้รวมเอาประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าไปในการพัฒนามาตรฐานสากลทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการด้วย โดยไอเอสโอได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกในการพัฒนามาตรฐานสากลตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

แนะนำมาตรฐานใหม่ล่าสุด เสริมแกร่ง ISO 45001

ไอเอสโอได้เผยแพร่มาตรฐาน ISO 45002 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 283, Occupational Health and Safety Management โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำ การใช้งาน การบำรุงรักษา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OH&S) ที่สามารถช่วยให้องค์กรปฏิบัติตาม ISO 45001 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม

ก้าวสู่ SDGs ด้วยมาตรฐานไอเอสโอ

องค์กรและบริษัทต่างๆ ที่ต้องการมีส่วนร่วมใน SDGs ต่างพบว่ามาตรฐานสากลมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวไปสู่ความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิผล และมาตรฐานสากลยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้รัฐบาล อุตสาหกรรม และผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อด้วย

องค์กรก้าวไกลด้วยมาตรฐานสากล

การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น

อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

มาตรฐานความยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน กำลังได้รับการพัฒนาในระดับประเทศและระดับโลกโดยองค์กรต่างๆ รวมถึงไอเอสโอผ่านคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 323, Circular Economy ซึ่งดำเนินการเพื่อมาตรฐานการออกแบบเชิงนิเวศที่คำนึงถึงการบริโภควัสดุที่ยั่งยืน พลังงานและทรัพยากรอื่นๆ ในทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนา

ดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย ISO/IEC 27001

บริษัทต่างๆ ทั่วโลกได้ตอบสนองต่อแรงกดดันของภัยคุกคามทางดิจิทัลโดยการนำ ISO/IEC 27001 ไปใช้ มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่รู้จักกันดีที่สุดในโลกสำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management Systems: ISMS) ซึ่งเป็นเอกสารชุดนโยบาย ขั้นตอน กระบวนการ และระบบที่จัดการความเสี่ยงของข้อมูลสูญหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ การเจาะข้อมูล การรั่วไหลของข้อมูล หรือการโจรกรรม ดังนั้น องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับใช้กรอบความคิดที่ยืดหยุ่นต่อโลกไซเบอร์

“เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” BCM จึงช่วยองค์กรได้

การหยุดชะงักของธุรกิจคือประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่กังวล แต่หากบริหารจัดการได้ดี ก็จะเป็นประโยชน์และเกิดโอกาสอีกมากมาย แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ขึ้น การมีแผนงานและความสามารถด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งมาตรฐานสากล ISO 22301 เป็นมาตรฐานฉบับแรกของโลกที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อดำเนินการและรักษาแนความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เพื่อสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงหายนะจากสภาพภูมิอากาศได้ ไอเอสโอจึงได้จัดทำแนวทาง Net Zero หรือข้อตกลงหลักเกณฑ์สุทธิเป็นศูนย์ (IWA 42, Net zero guidelines) เพื่อเป็นเครื่องมือหรือแนวทางที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำไปใช้จัดการกับอุปสรรคสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดและสมดุล

ตอบโจทย์การจัดการนวัตกรรมได้ด้วย ISO 56002

มาตรฐาน ISO 56002, Innovation management – Innovation management system – Guidance เป็นมาตรฐานที่ให้แนวทางปฏิบัติเพื่อให้องค์กรทุกประเภทสามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการจัดทำ รักษา และพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนาและก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมจนกระทั่งประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และรูปแบบธุรกิจใหม่

ต่อยอดระบบคุณภาพด้วย ISO 30401 เพิ่มคุณค่าให้องค์กร

องค์กรที่มีการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001 แล้ว สามารถต่อยอดและเพิ่มคุณค่าให้องค์กรได้ด้วยการนำมาตรฐาน ISO 30401 ไปใช้ตามหลักการระบบดังกล่าวเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาระบบที่สนับสนุนการสร้างคุณค่าผ่านความรู้โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีเครื่องมือวัดผลคือตัวชี้วัดที่จะประเมินประสิทธิภาพของระบบได้เป็นอย่างดี