ความเชื่อมั่นในสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ

MASCI ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันเนื่องมาจากความรู้ความสามารถของบุคลากรและประสบการณ์อันยาวนาน รวมทั้งได้รับความเชื่อถือจากการรับรองระบบงาน และการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช./NSC)
    • ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 สำหรับหน่วยรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระบบการจัดการพลังงาน
    • ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 สำหรับหน่วยรับรองระบบการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สาขาสวนป่าไม้เศรษฐกิจทุกประเภท เป็นรายแรกของประเทศไทย
    • ได้รับการรับรองระบบงานสำหรับหน่วยตรวจ (Inspection Body) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17020 สาขาการตรวจโรงงานเพื่อการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
  • ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17029 และ ISO 14065 และมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำหรับหน่วยตรวจความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก (Validation and Verification Body) ดังนี้
    • การทวนสอบรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Emissions Report) ตามโครงการการชดเชยและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการบินระหว่างประเทศ (Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation: CORSIA)
    • การทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามแนวทางการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ISO 14064-1)
    • การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกระดับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ตามแนวทางการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (ISO 14064-2) ตามมาตรฐานของประเทศไทยขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
  • ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
    • สำหรับหน่วยรับรองระบบการจัดการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 ภายใต้ขอบข่าย GMP และ HACCP
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
    • เป็นหน่วยงานตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกโครงการ T-VER
    • เป็นผู้ตรวจประเมินภายนอกสำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T- VER)
  • ได้รับอนุญาตเป็นหน่วยตรวจอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นหน่วยตรวจและหน่วยรับรองมาตรฐานแรงงานไทย
  • ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐาน (Standards Development Organizations) ประเภทขั้นสูง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนหน่วยจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยจัดอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยรับรองโรงงานผลิตสินค้าพืช
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมการท่องเที่ยวเป็นหน่วยตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจประเมินและรับรองสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และหน่วยตรวจสถานประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานเครือข่ายฝึกอบรม (Training Provider) ที่มี Lead Instructor ที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) เพื่อให้บริการฝึกอบรมหลักสูตร Food Safety Preventive Controls Alliance (FSPCA) Preventive Controls for Human Food และออกประกาศนียบัตรรับรองคุณสมบัติของผู้สำเร็จการฝึกอบรมเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรการควบคุมเชิงป้องกัน (Preventive Control Qualified Individuals: PCQI) ตามเกณฑ์ที่ U.S. FDA กำหนด

ความเชื่อถือในระดับสากล

MASCI เป็นหน่วยรับรอง (Certification Body) หน่วยตรวจ (Inspection Body) หน่วยตรวจความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก (Validation and Verification Body) ที่ได้รับการรับรองระบบงานจากหน่วยรับรองระบบงาน ซึ่งแสดงถึงการได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถในการให้การรับรองในสาขามาตรฐานดังกล่าว

ภายใต้การรับรองระบบงานจากสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อตกลงการยอมรับร่วมพหุภาคีร่วมกับ องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (The International Accreditation Forum Inc.: IAF)  องค์กรด้านการรับรองระบบงานที่ได้รับความเชื่อถือในระดับสากล ทำให้ผู้ประกอบการที่ได้รับใบรับรองจาก MASCI ภายใต้ขอบข่ายการรับรองระบบงานตามข้อตกลงข้างต้น สามารถแสดงตราสัญลักษณ์ IAF MLA Mark ควบคู่กับเครื่องหมายรับรองระบบงานของ สก. และตราสัญลักษณ์ของ MASCI

ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถสร้าง ความน่าเชื่อถือ ให้กับผู้ใช้สินค้าหรือบริการว่ามีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น  แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อ การเจรจาค้าขายกับประเทศคู่ค้า ที่ต้องการการยอมรับร่วมในผลการรับรองนั้นด้วย ทำให้ช่วยลดอุปสรรคทางเทคนิคในการค้า ลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล