มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000)

ระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบกิจการในห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมาตรฐาน ISO 22000 จะครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GHP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร มาตรฐานดังกล่าวเน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การกำหนดบริบทองค์กร และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสขององค์กรและผลิตภัณฑ์ ร่วมกับระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกันว่า มีการกำหนดรายละเอียดการตรวจสอบ มาตรการควบคุมอันตรายทั้งจุดวิกฤติ (CCP: Critical Control Point) และโปรแกรมการควบคุมสุขลักษณะ (OPRPS: Operational Pre-requisite Program) การเฝ้าติดตามและการปฏิบัติการแก้ไข เมื่อไม่เป็นไปตามเกณฑ์ค่าควบคุมที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมต่อการบริโภคของอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม และมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน โดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อาหารทุกราย ให้ข้อมูลและหลักฐานตามความต้องการของลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายในด้านความเป็นไปได้ ความจำเป็น และผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายโดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย

มาตรฐาน GHPs, HACCP และ ISO 22000 (ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร) มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • เกิดผลดีต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
  • ลดการสูญเสียในด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ลดการกีดกันทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด
  • เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และผลิตภัณฑ์
  • เป็นระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่สามารถขอการรับรองได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
  • เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001

ความสำคัญของ FSPCA

สหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้กฎหมายความปลอดภัยอาหารฉบับใหม่ (FSMA: Food Safety Modernization Act) เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2554 เพื่อการยกระดับด้านการจัดการความปลอดภัยอาหาร การปรับปรุงกฎหมายด้านความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัยขึ้น และทยอยประกาศกฎระเบียบย่อยเพิ่มอีก 7 ฉบับ เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ซึ่งกฎระเบียบข้อหนึ่ง คือ กฎระเบียบการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์  (Preventive Controls for Human Food) โดยการใช้มาตรการควบคุมเชิงป้องกัน (Preventive Control) ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้ประกอบธุรกิจของประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารไปยังสหรัฐฯ จะต้องมีการขึ้นทะเบียนบุคลากรที่มีคุณสมบัติและความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรการควบคุมเชิงป้องกัน (Preventive Control Qualified Individual: PCQI) โดยการขึ้นทะเบียนจะต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่พัฒนาโดย FSPCA (Food Safety Preventive Controls Alliance) เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานควบคุมกระบวนการผลิตอาหารส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อย่างสอดคล้องตามกฎหมาย

ศึกษาเพิ่มเติม/อบรม FSPCA คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ

มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000)

  1. แบบฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร Download