มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001)

banner9001

ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร

ISO 9001 เป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบการบริหารงานเพื่อเป็นการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงานเพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดเดิมซ้ำ

มาตรฐาน ISO 9001: 2015 มีการเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องการทำความเข้าใจกับองค์กรและบริบทองค์กร การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กรและมาตรฐาน ISO อื่น

ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ไปใช้ได้ และไม่มีข้อจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงและบุคลากรจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังประยุกต์ใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้ ยิ่งกว่านั้น ISO 9001: 2015 ใช้โครงสร้างของข้อกำหนดตาม Annex SL ซึ่งในปัจจุบันมาตรฐานการจัดการใหม่ๆ จะใช้โครงสร้างนี้ เช่น ISO 14001:2015, ISO 22301:2012 และ ISO 27001:2013 เป็นต้น ซึ่งในอนาคต มาตรฐาน ISO ทุกฉบับก็จะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบ Annex SL เหมือนกันทำให้สามารถบูรณาการ (Integrate) เข้ากับมาตรฐานต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร

  • มีการบริหารเชิงกลยุทธและการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
  • มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีคุณภาพสินค้าที่ดีสม่ำเสมอ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • มีระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น
  • มีการจัดการความรู้ขององค์กร
  • เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน นำไปสู่การลดต้นทุน
  • เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • มีโครงสร้างมาตรฐานที่สามารถบูรณาการ (Integrate) ร่วมกับมาตรฐานสากลฉบับอื่นได้

ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร

  • ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
  • การจัดการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • บรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

The Principles of Quality Management

QMP 1: การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)

QMP 2: ความเป็นผู้นำ (Leadership)

QMP 3: การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Engagement of People)

QMP 4: การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach)

QMP 5: การปรับปรุง (Improvement)

QMP 6: การตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักฐาน (Evidence-based Decision Making)

QMP 7: การบริหารความสัมพันธ์ (Relationship Management)

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ

มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001)

  1. ขั้นตอนการขอการรับรองระบบการจัดการ Download
  2. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
  3. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
  4. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การรับรองระบบการบริหารจัดการกรณีการโอนการรับรองจากหน่วยรับรองอื่น Download
  5. แบบฟอร์มร้องขอให้เสนอราคา Download
  6. แบบฟอร์มคำขอการรับรองระบบ Download
  7. แบบฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ Download
  8. แนวทางการดำเนินการในการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง การตรวจติดตามผล และการตรวจประเมินเพื่อต่ออายุการรับรอง ระบบบริหารงานคุณภาพ สำหรับผู้ได้รับการรับรองในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินโดยมติคณะรัฐมนตรี (ตามมติคณะอนุกรรมการรับรองระบบ วันที่ 7 มิถุนายน 2555) Download