ไอเอสโอกำลังแก้ไข ISO 22000

KONICA MINOLTA DIGITAL CAMERA

นับตั้งแต่มีการตีพิมพ์มาตรฐาน ISO 22000 ฉบับแรกในปี 2542 (ค.ศ.2005) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหารรวมทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและรัฐบาลก็ได้เผชิญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหารฉบับใหม่ และได้รับการกระตุ้นในเวลาต่อๆ มาว่ามีความต้องการให้มาตรฐานนี้มีการทบทวนเสียใหม่
จึงมีการพบปะกันของคณะทำงาน ISO/TC 34/SC 17/WG 8 – Management Systems for Food Safety ซึ่งรับผิดชอบในการทบทวนมาตรฐานดังกล่าว โดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของไอร์แลนด์ หรือ NSAI (National Standards Authority of Ireland) สมาชิกของไอเอสโอและกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ดับลิน เมืองหลวงของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เพื่ออภิปรายและดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าว

เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างผู้ใช้มาตรฐานดังกล่าวซึ่งมีการหยิบยกเอาช่องว่างของมาตรฐานปัจจุบันมาพิจารณาด้วย เช่นคำบางคำ พบว่ามีแนวโน้มจะทำให้เกิดความสับสน ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวถึงเรื่องบางเรื่องซ้ำๆ และมีบางแนวคิดที่จำเป็นต้องได้รับการอธิบายให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น SMEs ยังจำเป็นต้องปรับปรุงในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงอีกด้วย ดังนั้น คณะทำงานนี้ จึงเตรียมการแก้ไขประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

ทำให้แนวคิดหลักบางประการมีความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การควบคุมจุดวิกฤตที่จำเป็นต้องมีการจัดการ มี โครงการเชิงปฏิบัติการ แนวทางเรื่องความเสี่ยง การเรียกคืนและการถอดถอนผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมาตรการควบคุมภายนอก

  • แก้ไขและปรับปรุงศัพท์และนิยามให้มีความทันสมัย
  • ทำให้มาตรฐานมีความง่ายขึ้นและกระชับมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการทำให้เนื้อหามีการเขียนในเชิงของกฎที่ต้องปฏิบัติ
  • ทำให้แน่ใจว่าสามารถครอบคลุม SMEs ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ มาตรฐาน ISO 22000 จะมีรูปแบบเดียวกับมาตรฐานระบบการจัดการอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันจะเดินตามโครงสร้างที่เหมือนกันในเรื่องของข้อความร่วม ศัพท์และนิยาม ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว ชีวิตก็ง่ายขึ้น บริษัทต่างๆ ต้องการได้รับการรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการหลายมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น 9001 หรือ ISO 22000 รูปแบบที่มีความร่วมมือกันจะทำให้แน่ใจได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่าง มาตรฐาน และทำให้การใช้ร่วมกันมีความง่ายขึ้นตลอดจนทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมอาหารอาจจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทบทวน และแก้ไขโดยเฉพาะ ผู้ใช้มาตรฐานรายอื่นๆ ก็จะได้รับเลือกเป็นกลุ่มที่เข้ามาร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นตามความจำเป็น ด้วย ซึ่งรวมถึง SME ผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ออกกฎระเบียบที่กำลังมองหาโมเดลที่จะพัฒนาข้อกำหนดเชิงบังคับสำหรับแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร หรือแม้แต่ผู้ผลิตซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารโดยตรงแต่มีกิจกรรม ที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐาน เช่น เรื่องของน้ำ เป็นต้น

บริษัทและองค์กรจำนวนมากไม่ได้ใช้ ISO 22000 เองแต่เชื่อมโยงเข้ากับมาตรฐานการบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001 ดังนั้น จึงมีความต้องการที่จะรวมเอามาตรฐานสองมาตรฐานเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ

นอกจากนี้ มาตรฐานในตระกูล ISO/TS 22002 – Prerequisite program on food safety ยังสนับสนุนบางภาคส่วนและช่วยให้มีการนำ ISO 22000 ไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนอีกด้วย

ปกติแล้ว งานทั้งหมดนี้จำเป็นต้องให้องค์กรที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องของห่วงโซ่อาหารเข้ามามีส่วนร่วมในการทบทวนและแก้ไขมาตรฐาน
ดังนั้น คณะทำงานกลุ่มนี้จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในกลางเดือนตุลาคม 2558 เพื่อส่งมอบร่างมาตรฐานที่มีการทบทวนออกมาเป็นฉบับที่ 2 ซึ่งในขณะนี้ ยังเรียกว่าเป็นเอกสารที่กำลังดำเนินงานอยู่ (working document) และถ้าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้จริง มาตรฐาน ISO22000 จะแล้วเสร็จและได้รับการตีพิมพ์ในปี 2560 (ค.ศ. 2017)

ที่มา : http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref1951