ISO 31000 เปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาส

การเรียนรู้จากประสบการณ์ของมนุษย์มักมีหนทางที่ยากลำบาก แต่ในขณะที่มีการเรียนรู้และเกิดความเสี่ยงขึ้นนั้น ความเสี่ยงอาจแปรเปลี่ยนไปเป็นโอกาสได้ ยกตัวอย่าง การเกิดแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่นอย่างรุนแรงในประเทศญี่ปุ่น ได้นำไปสู่การพัฒนาระบบการจัดการฉุกเฉินที่มีความทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและยังมีการนำขีปนาวุธที่ใช้ในการป้องกันประเทศมาใช้งานเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งปัจจุบันทางการสามารถส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในประเทศและสามารถส่งข้อความแทรกไปยังการกระจายเสียงทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ได้ด้วย

ในยุคที่โลกเข้าสู่ความเป็น “อัจฉริยะ” เช่นนี้ เทคโนโลยีจึงเป็นกลุ่มความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ Artificial Intelligence, machine learning หรือ IoT  ดังนั้น องค์กรน้อยใหญ่ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเหล่านั้น ซึ่งต้องรวมเอาการจัดการความเสี่ยงเข้าไปไว้ในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งขอบข่ายของมาตรฐาน ISO 31000 ซึ่งเป็นมาตรฐานตัวแรกในกลุ่มของมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงนั้น ไม่ได้มีการพัฒนาไว้สำหรับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสำหรับระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่เป็นการจัดเตรียมแนวทางและโครงสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดให้กับส่วนปฏิบัติการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง

กลุ่มเธลส์ เป็นตัวอย่างขององค์กรชั้นนำในภาคส่วนของธุรกิจด้านความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งระบุว่าการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมและพัฒนามาตรฐานใหม่และกระบวนการถือเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันความเสี่ยง

เจสัน บราวน์ ผู้อำนวยการด้านความมั่นคงและความปลอดภัยแห่งชาติของเธลส์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นประธานของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 262 – การบริหารความเสี่ยง กล่าวว่า มาตรฐาน ISO 31000 สามารถนำไปใช้ในการการวางแผนและการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่น การเงิน วิศวกรรม การบินอวกาศ และความมั่นคงปลอดภัยระหว่างประเทศ เป็นต้น

ไอเอสโอได้บุกเบิกมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงและอยู่ในระหว่างการทบทวนมาตรฐาน ISO 31000 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2561

ในการทำให้มั่นใจว่าหลักการและแนวทางในมาตรฐานดังกล่าวยังคงเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน มาตรฐาน ISO 31000 และ ISO Guide 73  ไอเอสโอจึงได้กำหนดนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ ซึ่งในการทบทวนมาตรฐานครั้งใหม่นี้นับเป็นอีก

ก้าวหนึ่งในการทำให้การบริหารความเสี่ยงง่ายขึ้นและชัดเจนขึ้น ข้อความได้ถูกลดทอนลงให้เป็นแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างเอกสารใหม่ที่สั้น  ชัดเจนขึ้น และมีความกระชับมากขึ้นเพื่อให้อ่านได้ง่ายแต่ก็ยังคงใช้งานได้ดีด้วย

บราวน์ได้เน้นในความจริงที่ว่าโมเดลที่อยู่บนหลักการของมาตรฐาน ISO 31000 ที่เน้นในเรื่องของการประเมินความเสี่ยงนั้น จะทำให้มีความมั่นใจในมาตรฐาน ซึ่ง “รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายมากขึ้นในโลกที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นนั้น จะได้ใช้ประโยชน์จากการใช้มาตรฐาน ISO 31000 มาเป็นแนวทางในการจัดการความเสี่ยง”

เขาแนะนำว่ามาตรฐานฉบับใหม่มีการทำให้กระชับขึ้นและได้รวมเอาองค์ประกอบหลักและเน้นในเรื่องธรรมชาติของกระบวนการ ประเด็นความสำคัญของโมเดลนี้ก็คือความเกี่ยวข้องในการลดความไม่แน่นอนในสภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการที่มีความรุนแรงสูงและมีความไม่แน่นอน ซึ่งข้อกำหนดสำหรับการติดตามและการประเมินอย่างต่อเนื่องของความเสี่ยงนั้นบ่อยครั้งมักเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ภายนอก

ภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของมาตรฐาน ISO 31000 คือ ลาตินอเมริกา จอร์จ เอสคาเลร่า สมาชิกของผู้เข้าร่วมประชุมชาวเม็กซิกันในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 262, Risk management และ ISO/TC 292, Security and resilience ระบุว่าหัวข้อของการบริหารความเสี่ยงอาจมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใหม่ในลาตินอเมริกาแต่มันก็มีการเติบโนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เขาเปิดเผยว่าองค์กรกำลังดำเนินงานในเชิงรุกมากขึ้นในการพิจารณาที่จะนำมาตรฐาน ISO 31000 ไปใช้บริหารความเสี่ยงร่วมกับระบบการจัดการทั่วไปขององค์กร

เอสคาเลร่า เป็นผู้อำนวยการของ Risk Mexico ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา การออกใบรับรองและการให้คำปรึกษาทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เขากล่าวว่า Risk Mexico ส่งเสริมการนำการจัดการความเสี่ยงไปใช้ในมาตรฐาน ISO 31000 และในการปรึกษาแต่ละครั้ง มีหลักการในการปฏิบัติงานพื้นฐานคือการอิงอยู่บนการจัดการความเสี่ยงที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน

ความร่วมมือในการจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญทั้งหมด และแม้ว่าการพัฒนาวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็งนั้นไม่ใช่งานที่ง่าย มาตรฐาน ISO 31000 เป็นก้าวสำคัญในทิศทางนี้ แน่นอนว่าจำเป็นต้องมีมากกว่าการนำ ISO 31000 ไปใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการเงิน แต่ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงสาเหตุและระบุการจัดการที่จำเป็นเพื่อลดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตด้านการเงิน

เจสัน บราวน์กล่าวว่า มีความจำเป็นที่หุ้นส่วนต้องเต็มใจในอันที่จะปฏิบัติการที่จำเป็นเพื่อลดความไม่แน่นอน ปฏิบัติการบางอย่างต้องรวมไปถึงความโปร่งใสของปฏิบัติการด้านการเงิน กฎระเบียบและความสอดคล้องที่ดี ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ และสำคัญที่สุดคือ ธรรมาภิบาลด้วย

แล้วอนาคตของมาตรฐานนี้จะเป็นอย่างไร  เกี่ยวกับเรื่องนี้ กิจกรรมของคณะกรรรมการวิชาการจะเน้นไปที่การเพิ่มความเข้าใจในมาตรฐานไปยังทั่วโลก จริงๆ แล้ว ตัวอย่างของความสนใจในมาตรฐาน ISO 31000 มีมากขึ้นในลาตินอเมริกา บราวน์กล่าวว่ายังมีแนวคิดจากประเทศสมาชิกจำนวนหนึ่งซึ่งรวมถึงการแปลเป็นภาษาสเปนของคณะทำงานเฉพาะกิจและจะขยายไปสู่อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ สเปน อัฟริกาและยุโรปด้วย

อย่าลืมทำความรู้จักกับมาตรฐาน ISO 31000 ให้มากขึ้นแล้วมาร่วมกันเปลี่ยนความเสี่ยงให้เป็นโอกาสเพื่ออนาคตที่ดีขององค์กร

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2239.html

Share:

ยังไม่พบสิ่งที่คุณค้นหา?

หรือ สอบถามเจ้าหน้าที่ของเรา