มาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวรักษ์โลก

World-Tourism-Day

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีความนิยมในการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และนับเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับไอเอสโอในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันท่องเที่ยวโลกซึ่งตรงกับวันที่ 27 กันยายนของทุกปี

จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization) แห่งองค์การสหประชาชาติ ปีที่แล้ว นักท่องเที่ยว 1.2 พันล้านคนได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้รับผิดชอบในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.8 พันล้านคนภายในปี 2573 (ค.ศ.2030)

ตัวเลขที่มีการคาดการณ์ไว้สูงเช่นนี้ จะนำมาซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้กับชุมชนท้องถิ่นที่คนจำนวนมากกำลังพึ่งพาอยู่ และเนื่องในโอกาสวันท่องเที่ยวโลกซึ่งตรงกับวันที่ 27 กันยายนของทุกปี จะมีการสร้างและยกระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวซึ่งสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ และในปีนี้ องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับหัวข้อ Tourism and Digital Transformation ซึ่งให้เน้นในเรื่องของความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และวิธีที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการมีส่วนร่วมเช่นการให้อำนาจแก่ชุมนชนท้องถิ่นและการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานสากลของไอเอสโอสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วยการจัดเตรียมภาษาร่วมกัน และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ได้รับความเห็นพ้องร่วมกันซึ่งเป็นหลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน จึงสามารถสร้างเวลาที่มีคุณค่าและมีทรัพยากรสำหรับการสร้างสรรค์ และงานที่มีการคิดค้นใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมกรอบการทำงานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันจากนวัตกรรมที่กำลังได้รับความนิยมด้วย

จากประวัติของไอเอสโอ พบว่ามีมาตรฐานจำนวนหนึ่งที่ได้รองรับไว้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 228 การท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (Tourism and related services)  ซึ่งมีตัวอย่างข้อกำหนดทางวิชาการของ ISO/TS 13811 Tourism and related services – Guidelines on developing environmental specifications for accommodation establishments ซึ่งช่วยให้องค์กรลดผลกระทบเชิงลบต่อการจัดหาห้องพักเชิงท่องเที่ยวในด้านสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

ปัจจุบัน คณะกรรมการกำลังทำงานด้านมาตรฐานที่สำคัญอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมโดยตรงต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงมาตรฐานดังต่อไปนี้

  1. ISO 21401, Tourism and related services – Sustainability management system for accommodation establishments – Requirements
  2. ISO 20611, Adventure tourism – Good practices for sustainability – Requirements and recommendations
  3. ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on sustainable practices in recreational diving

มาตรฐานดังกล่าวเป็นข้อกำหนดที่จะช่วยส่งเสริมให้มีระบบการจัดการอย่างยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่เกี่ยวข้อง วิธีปฏิบัติด้านการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน ทั้งในเรื่องของการจัดสรรที่พักและกิจกรรมดำน้ำ เป็นต้น อันจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้นำมาตรฐานไปใช้ได้มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2327.html