สรอ. แสดงความยินดีกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสได้รับเกียรติบัตร ISO 56002 ระบบการจัดการนวัตกรรม

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (สรอ.) หรือ MASCI  โดย นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ พร้อมด้วย นายฐานิต ปิยะศิริศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายรับรองระบบ ร่วมแสดงความยินดีกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสได้รับเกียรติบัตร ISO 56002 ระบบการจัดการนวัตกรรม วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 ณ ชั้น 4  อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (School of Integrated Innovation, Chulalongkorn University) หรือ ScII  โดยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติรับมอบเกียรติบัตร ISO 56002 ระบบการจัดการนวัตกรรม  พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย ที่ปรึกษา  ผู้บริหารและบุคลากรของ ScII   ในขอบข่าย “การบริหารจัดการนวัตกรรมของหลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) และโครงการนวัตกรรมของนิสิต (BAScii (Bachelor of Arts and Science in Integrated Innovation – Four Year Courses (Started in 2019) and Student Innovation Projects of BAScii)”  โดยเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติบัตร ISO 56002 จาก สรอ.  

56002-Cerfification-Awarding-Ceremony-pic1

การได้รับเกียรติบัตร ISO 56002:2019 ระบบการจัดการนวัตกรรม ของ ScII แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารและบุคลากรในระดับต่างๆ ของ ScII ในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบการจัดการนวัตกรรมในการเป็นสถาบันแห่งอนาคต (Global Academy for the Future) ที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้นำแห่งอนาคตที่ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมและสังคม และมีทักษะการทำงานที่เป็นที่ต้องการในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพันธกิจของ ScII CU ยังเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ S-Curve ที่ 12 การศึกษา ด้วย

ISO 56002 ระบบการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management System) หรือ InMS เป็นมาตรฐานที่ช่วยให้องค์กรมีแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม รวมทั้งกระบวนการ ทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่จำเป็น และยังช่วยให้ได้รับประโยชน์ในการเพิ่มความสามารถในการจัดการความไม่แน่นอน การเพิ่มการเติบโต รายได้ ความสามารถในการทำผลกำไรและความสามารถในการแข่งขัน การลดต้นทุนและของเสีย การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การพัฒนาความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืนและความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปกติ การเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ ลูกค้า ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น การมีส่วนร่วมของพนักงาน การดึงดูดความสนใจของหุ้นส่วน คู่ความร่วมมือและการระดมทุน การเพิ่มชื่อเสียงและคุณค่าขององค์กร การสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้องขององค์กร

56002-Cerfification-Awarding-Ceremony-pic2

สรอ. ขอแสดงความยินดีและภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาและบูรณาการมาตรฐานระบบการจัดการนวัตกรรมเข้ากับทิศทางด้านกลยุทธ์ของ ScII  ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure)

Share:

ยังไม่พบสิ่งที่คุณค้นหา?

หรือ สอบถามเจ้าหน้าที่ของเรา