ไอเอสโอรุกเรื่องมาตรฐานการกำกับดูแลองค์การ

how-transparent-is-an-organization

เรื่องของความโปร่งใสขององค์กรจะต้องมีการบริหารจัดการและการควบคุมอย่างไร องค์กรควรมีทิศทางในเรื่องนี้อย่างไร และในด้านความรับผิดชอบเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในระยะยาวควรดำเนินการอย่างไร สิ่งเหล่านี้ คณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอด้านการกำกับดูแลองค์การขึ้นมาใหม่  เพื่อตอบสนองเป้าหมายขององค์การในเรื่องของความโปร่งใส

เดฟ อดัมสัน ผู้แทนของ BSI ซึ่งเป็นสมาชิกของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษของไอเอสโอ ผู้พิจารณาข้อเสนอต่างๆ ของการก่อตั้งคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 309 – Governance of organizations ได้กล่าวว่าคณะกรรมการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับองค์การต่างๆ ในอันที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ในนามของประชาชนที่องค์การเหล่านั้นมีความรับผิดชอบในการให้บริการ ซึ่งหมายความว่าองค์การนั้นมีความชัดเจนในวัตถุประสงค์และคุณค่าขององค์การที่มีความรับผิดชอบในการให้บริการ รวมถึงคุณค่าที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนมีความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการที่กำลังดำเนินกิจการอยู่

เขาเชื่อว่าทุกคนสามารถได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของคณะกรรมการใหม่ของไอเอสโอ มาตรฐานนี้มีแนวโน้มว่าจะให้หลักการในระดับสูงและทิศทางของการกำหนดระบบการกำกับดูแลองค์การที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถใช้ได้กับองค์การทุกขนาด ตั้งแต่ระดับบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ไปจนถึงธุรกิจที่มีผู้ดำเนินกิจการเพียงคนเดียว

มาตรฐานการกำกับดูแลองค์การซึ่งได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 309 ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ควบคุมกฎ กล่าวคือ จะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนนโยบายสาธารณะ

คณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานให้มีแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการกำกับดูแลองค์การเพื่อให้มีสมรรถนะโดยครอบคลุมในทุกด้าน รวมทั้งทิศทาง การควบคุม และความรับผิดชอบในการดำเนินการ ซึ่งช่วยให้องค์การแสดงความมุ่งมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านหลักฐานและการรายงาน รวมทั้งกระตุ้นให้มีการปกครองดูแลหน่วยงานให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง มีการส่งเสริมวัตถุประสงค์และคุณค่าขององค์กรและทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้

นอกจากการพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลองค์การแล้ว คณะกรรมการนี้ยังพิจารณาการทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการรับสินบนด้วย ได้แก่ ISO 37001 มาตรฐานระบบการจัดการต่อต้านการติดสินบน (Anti-bribery Management Systems) และ ISO 19600 มาตรฐานระบบการจัดการความสอดคล้อง (Compliance Management Systems) ซึ่งในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวนั้น มีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาทำงานพัฒนามาตรฐานร่วมกันและทำให้ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเป็นแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องดังกล่าว

คณะกรรการได้มีการประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และประเทศต่างๆ รวม 38 ประเทศได้แสดงความสนใจที่จะมีส่วนร่วมในงานดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการกระตุ้นให้บางประเทศ เช่น จีน ไนจีเรีย และมาเลเซีย เป็นต้น ได้ร่วมมีพันธสัญญาในการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำและความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันด้วย

ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2158