ไอเอสโอทบทวนมาตรฐานระบบหน่วยวัด

201701w4-1

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรที่หนึ่งกิโลกรัมมีน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม แล้วเราสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำได้อย่างไร ความคงที่ในปริมาณและหน่วยวัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวัดที่แม่นยำและจะทำได้ก็ต่อเมื่อทุกคนใช้ “ภาษา” เดียวกัน และภาษานั้นก็คือ มาตรฐานชุด ISO/IEC 80000 นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทบทวนมาตรฐาน

มาตรฐานดังกล่าวได้รับการอ้างอิงโดยสำนักงาน ชั่ง ตวง วัด ระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measurements: BIPM) ได้ใช้ระบบการชั่ง ตวง วัดระหว่างประเทศเป็นแนวทางที่เรียกกันว่าโบรชัวร์ของเอสไอ ซึ่งสนับสนุนความหมายของปริมาณและหน่วยวัด ประกอบไปด้วย 13 ส่วนที่แตกต่างกัน โดย 11 ส่วนมาจาก ISO และ 2 ส่วนมาจาก IEC ซึ่งบางส่วนอยู่ในขั้นตอนร่างสุดท้ายของการพัฒนามาตรฐาน (สำหรับเอสไอเป็นระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศซึ่งมีที่มาจากประเทศอังกฤษและมีทั้งหมด 7 หน่วย ได้แก่ เมตรสำหรับวัดความยาว กิโลกรัมสำหรับวัดมวล วินาทีสำหรับวัดเวลา แอมแปร์สำหรับวัดกระแสไฟฟ้า เคลวินสำหรับวัดอุณหภูมิ แคนเดลาสำหรับวัดความเข้มของการส่องสว่าง และโมลสำหรับวัดปริมาณของสาร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2555_189_60_p44-46.pdf )

มาตรฐานชุดดังกล่าวให้นิยามศัพท์ ความหมาย สัญลักษณ์ที่แนะนำให้ใช้ หน่วยและข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับปริมาณที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม  ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการเขียนเอกสารทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ มาตรฐาน และคู่มือได้

สำหรับมาตรฐานที่ไอเอสโอกำลังทบทวนอยู่นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับเส้นทางด้านตลาดที่เป็นผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมทุกประเภท ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านการวัดในหลายสาขาที่ต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น การค้าของโลก การผลิต การผลิตด้านพลังงานและสุขภาพ จึงมีความสำคัญที่ไอเอสโอต้องทำการทบทวนมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจว่ามีความเกี่ยวข้องกันและมีความแม่นยำให้มากที่สุดและสอดคล้องกับระบบหน่วยวัดสากล

สำหรับผู้ใช้มาตรฐานนี้ก็คือ หน่วยงานด้านวิชาการและมาตรวิทยา นักการศึกษา ผู้เชียนหนังสือด้านเทคนิค  นักแปลภาษา  ผู้พัฒนามาตรฐานและอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ

สำหรับร่างมาตรฐานที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาและจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในเร็วๆ นี้ มีดังนี้

  • ISO 80000-2 คณิตศาสตร์ (Mathematics)
  • ISO 80000-4 เครื่องกล (Mechanics)
  • ISO 80000-5 เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics)
  • ISO 80000-7 แสงและรังสี (Light and radiation)
  • ISO 80000-10 ฟิสิกส์ของอะตอมและนิวเคลียร์ (Atomic and nuclear physics)
  • ISO 80000-12 ฟิสิกส์ (Condensed matter physics)

สำหรับร่างมาตรฐาน ISO 80000-9 เคมีเชิงฟิสิกส์และฟิสิกส์โมเลกุล และ ISO 80000-11 จำนวนคุณลักษณะ (Characteristic numbers) ได้มาถึงร่างมาตรฐานขั้นสุดท้ายแล้วซึ่งหมายความว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถส่งข้อคิดเห็นก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นขั้นสุดท้าย

นอกจากมาตรฐานดังกล่าวข้างต้น ยังมีมาตรฐานดังต่อไปนี้ด้วย

  • ISO 80000-1 General
  • ISO 80000-3 Space and time
  • ISO 80000-6 Electromagnetism
  • ISO 80000-8 Acoustics
  • ISO 80000-13 Information science and technology

มาตรฐานชุด ISO/IEC 80000 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ Quantities and units ซึ่งมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน (Swedish Standards Institute: SIS) เป็นเลขานุการ  ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store  หรือเว็บไซต์ของไออีซี IEC Store

ระบบหน่วยวัดเป็นระบบที่มีความเป็นมาที่ยาวนานในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และเมื่อโลกได้เปลี่ยนแปลงไป หน่วยวัดจึงต้องก้าวตามให้ทัน ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงเห็นพัฒนาการของระบบหน่วยวัดที่สอดคล้องกับโลกในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา:   

  1. http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2152
  2. http://www.bipm.org/en/publications/si-brochure/download.html