การจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ (TCAS/มตช.10)

การจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และอื่นๆ โดยการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษ เช่น มลพิษทางดิน น้ำ อากาศ เสียง และการปนเปื้อนของสารพิษ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ฯลฯ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดกากอุตสาหกรรมหรือของเสีย จากระบบฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบการขออนุญาตนำของเสียออกนอกบริเวณโรงงาน เพื่อนำไปกำจัดในรูปแบบต่างๆ ทั้งการฝังกลบ (Landfill) การเผาทำลายในเตาเผาเฉพาะ (Incineration) การเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (Co-processing of Waste material in cement kilns) และการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ (Waste utilization) 

เพื่อให้กากอุตสาหกรรมถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม การเข้าใจถึงแนวทางในการจัดการและกำจัดของเสียจึงมีความสำคัญอย่างมาก หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งสนับสนุนให้เกิดการนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่และสร้างคุณค่าทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นหลักการหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดการเกิดของเสียภายในองค์กร ซึ่งสามารถดำเนินการผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การลดการใช้ทรัพยากร (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การรีไซเคิล (Recycle) การออกแบบใหม่ (Re-design) เป็นต้น

จากหลักการเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) สามารถประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรที่มีความหลากหลาย เพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขันบนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทำให้เกิดแนวคิดการจัดการของเสียสำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบการฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)


ประโยชน์ของมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ การจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ หรือ มตช.10 

  • ลดค่าใช้จ่าย และภาระต้นทุนสิ่งแวดล้อม (Environmental costs)
  • ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม (เช่น มลพิษทางดิน น้ำ อากาศ เสียง และการปนเปื้อนของสารพิษ เป็นต้น)
  • สร้างคุณค่าให้กับของเสีย โดยนำของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (ทดแทนการนำไปฝังกลบ)
  • สร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรในองค์กร

     

ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ทุกธุรกิจ และ/หรืออุตสาหกรรม ที่ต้องการลดภาระต้นทุนสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม สร้างความตระหนัก/จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรในองค์กร


การเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำระบบ 

  1. วิเคราะห์สถานะองค์กร โดยคำนึงถึงขอบข่ายและขอบเขตการจัดการกากอุตสาหกรรมภายในองค์กร ผ่านการวิเคราะห์การไหลกากอุตสาหกรรม พร้อมบันทึกชื่อ น้ำหนักและปริมาณ วิธีกำจัด เป็นต้น
  2. กำหนดเทคนิค วิธีการ หรือกลไกต่างๆ ในการลดกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์
  3. กำหนดเกณฑ์ วิธีการคำนวณปริมาณกากอุตสาหกรรม อัตราการผันแปรกากอุตสาหกรรม พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล
  4. กำหนดเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกผู้ดำเนินการขนย้ายหรือกำจัดกากอุตสาหกรรม


ขั้นตอนการทวนสอบ

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม: Request for มตช.10 Download 

ทำไมต้องเลือก MASCI  

MASCI ทำหน้าที่เป็นหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ (Validation and Verification Body หรือ VVB) ให้บริการด้านการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ทวนสอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ด้วยความเป็นอิสระ การดำเนินการอย่างมีจรรยาบรรณ การเสนอผลตามข้อเท็จจริง และการดำเนินงานอย่างมืออาชีพ เพื่อรักษาคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติของสากล 

การทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ

  • Excellent Competency
    ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบกาณณ์และความรู้ความสามารถด้านมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
  • Excellent Quality
    คุณภาพการให้บริการได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและรหว่างประเทศ
  • Excellent Network
    เครือข่ายที่เชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการศึกษาและภาครัฐในการบริการแก่ทุกภาคส่วนได้อย่างต่อเนื่อง


บริการฝึกอบรมและที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้อง

การเป็นที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาเป็นหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ (Validation and Verification Body) 

ติดต่อแผนกการฝึกอบรม trs@masci.or.th

โทร 02 617 1723-36 ต่อ 802-803

 

บริการที่เกี่ยวข้อง

  • มตช.2: ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับองค์กร (Circular Economy)
  • มตช.9: มาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับการรีไซเคิลพลาสติก และการประเมินความสอดคล้องและส่วนผสมรีไซเคิล 


ติดต่อเรา (Contact Person) 

  • Khun Nuchanad Aroonjaruttham (คุณนุชนาฎ อรุณจรัสธรรม)
    E-mail: nuchanad@masci.or.th
    Tel: 02-617-1727 Ext.368
  • Khun Nuchanart Phaoruangrit (คุณนุชนารถ เผ่าเรืองฤทธิ์)
    E-mail: nuchanart@masci.or.th
    Tel: 02-617-1727 Ext.305
  • Khun Nannapas Phungpool (คุณนันท์นภัส พึ่งพูล)
    E-mail: nannapas@masci.or.th
    Tel: 02-617-1727 Ext.344

แหล่งข้อมูลมาตรฐาน 

https://www.tisi.go.th