ฉลอง “อพอลโล่ 11” ครบรอบ 50 ปี

เมื่อปี 2512 (ค.ศ.1969) ผู้คนทั่วโลกยังคงฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ทและไม่มีชิปไมโครโพรเซสเซอร์  แต่ในปีนั้นเอง เป็นปีที่ประวัติศาสตร์โลกได้บันทึกไว้ว่ามนุษยชาติได้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์แล้ว และความตื่นเต้นของมวลมนุษยชาติที่ได้เห็นมนุษย์เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ก็ได้ผ่านไปแล้วเป็นเวลา 50 ปี

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เป็นวันครบรอบการเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ของยานอพอลโล่ 11 โดยมีนักบินอวกาศที่ลงเหยียบพื้นดวงจันทร์คนแรกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว คือ นีล อาร์มสตรอง ตามด้วยบัซ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นาซายังคงดำเนินภารกิจในการสำรวจจักรวาลต่อไป แต่สิ่งที่คนทั่วโลกได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิมก็คือ “มาตรฐานสากล” ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องความปลอดภัยและปรากฏอยู่ในความสำเร็จของความพยายามในการสำรวจจักรวาลนั้นเอง

มีรายงานว่ามนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์จะมาร่วมฉลองงาน World Space Week 2019 ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคมนี้ด้วย ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อเฉลิมฉลองสัปดาห์อวกาศโลก โดยในปีนี้มีการให้ความสำคัญในหัวข้อ “ดวงจันทร์: ประตูสู่ดวงดาว” (The Moon: Gateway to the Stars) เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีสำหรับภารกิจการเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ของยานอวกาศอพอลโล 11 และความสำคัญของดวงจันทร์ในอนาคต (สำหรับประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISDA ได้จัดงานมหกรรมอวกาศระดับนานาชาติ 2019 ไปแล้วเมื่อวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2562 ณ อิมแพคท์ ฟอรั่ม เมืองทองธานี )

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 นักบินอวกาศทั้งสามคนได้แก่ นีล อาร์มสตรอง บัซ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ ได้เดินทางไปเยือนสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์ค และได้กล่าวในตอนท้ายของงานว่าในเมื่อความหวังที่พลเมืองโลกมีให้กับการแก้ไขปัญหาที่อยู่นอกโลกยังเกิดขึ้นได้ ก็มีความหวังที่จะแก้ปัญหาที่อยู่บนโลกให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน

ไม่ว่าการสำรวจอวกาศจะทำให้อะไรเกิดขึ้นในอีก 50 ปีข้างหน้าก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่จะยังคงอยู่อย่างแน่นอนก็คือการมาตรฐานซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยของยานอวกาศต่อไป

ปัจจุบัน ความพยายามในเรื่องของการมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของยานอวกาศปรากฏอยู่ในการดำเนินงานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20 20, Aircraft and space vehicles ซึ่งมีผลงานการพัฒนามาตรฐานแล้วเสร็จไปถึง 668 ฉบับ และยังมีมาตรฐานที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาอีก 218 ฉบับ โดยมีเลขานุการของคณะกรรมการวิชาการคือ ANSI ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ได้ส่งนักบินอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลกนั่นเอง

ที่มา :

  1. http://thaiastro.nectec.or.th/library/article/3419/
  2. https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/news/magazine/ISOfocus%20(2013-NOW)/en/2019/ISOfocus_136/ISOfocus_136_en.pdf
  3. https://www.worldspaceweek.org/?fbclid=IwAR0i0Byxprn8vu5pRy8RcLCVIQXBspaEhLQ2FlgLE2K4svghz2QV1I_Z4QI
Share:

ยังไม่พบสิ่งที่คุณค้นหา?

หรือ สอบถามเจ้าหน้าที่ของเรา