มาตรฐานไอเอสโอช่วยยกระดับการท่องเที่ยวสากล

World--Tourism--Day

วันที่ 27 กันยายนของทุกปี องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNWTO) ได้กำหนดให้เป็นวันท่องเที่ยวโลก ซึ่งไอเอสโอมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของคนทั่วโลกด้วยการพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยว และในปีนี้ได้มีส่วนร่วมในหัวข้อ “การท่องเที่ยวและงาน: อนาคตที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน”

พาลัด ซิงห์ พาเทล รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันท่องเที่ยวโลกกล่าวว่า  การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคส่วนชั้นนำที่มีการจ้างงานถึง 10% ของการจ้างงานทั่วโลก และการพัฒนาการท่องเที่ยวมีส่วนเชื่อมโยงโดยตรงต่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรฐานหลายมาตรฐานของไอเอสโอมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โลกมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างงานที่ดี มีคุณค่ามากขึ้นด้วย

นาตาเลีย ออร์ทิส เดซาราเต ผู้จัดการคณะกรรมการวิชาการของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 228, Tourism and related services คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของไอเอสโอที่ทุ่มเทให้กับอุตสหกรรมท่องเที่ยว กล่าวว่าไอเอสโอมีมาตรฐานจำนวนมากที่มีเป้าหมายในการปรับปรุงความสามารถของบุคลากรที่ทำงานในภาคส่วนการท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน ISO 24802, Recreational diving services – Requirements for the training of scuba instructors และ ISO 13970, Recreational diving services – Requirements for the training of recreational snorkelling guides ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีปฏิบัติในระดับสากลที่ดีที่สุดสำหรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดำน้ำ

มาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้มั่นใจในคุณภาพในระดับสูงอันนำมาซึ่งประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมดำน้ำและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ  อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ISO/TR 21102, Adventure tourism – Leaders – Personnel competence ซึ่งเป็นรายงานทางวิชาการที่ให้รายละเอียดว่าตลาดคำนึงถึงอะไรว่าเป็นความสามารถที่จำเป็น ทำให้นายจ้างมีแนวทางในการเปรียบเทียบในระดับสากลและลูกจ้างมีสิ่งที่ใช้เป็นแนวทางเดียวกันในการแข่งขันกับผู้อื่น

ความมั่นคงและความปลอดภัยเป็นใบผ่านทางไปสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งทำให้มั่นใจในข้อเสนอที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว และยังสร้างสรรค์งานได้มากขึ้นด้วย

ไอเอสโอยังมีมาตรฐานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอีกจำนวนมากที่ช่วยปรับปรุงเรื่องของความยั่งยืน ความปลอดภัย และความเป็นมืออาชีพในกิจกรรมการท่องเที่ยว  ทำให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 21101, Adventure tourism – Safety management systems – Requirements เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ให้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวแบบผจญภัยมีแนวทางระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมมีประสบการณ์ที่ดี ทำให้ผู้ปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวแบบผจญภัยมีสมรรถนะด้านความปลอดภัย สามารถตอบสนองความคาดหวังสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและความปลอดภัยของพนักงาน รวมทั้งสนับสนุนความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านกฎหมายที่มีการประยุกต์ใช้

ISO 20611, Adventure tourism – Good practices for sustainability – Requirements and recommendations เป็นมาตรฐานที่เป็นเค้าโครงวิธีการขององค์กรการท่องเที่ยวแบบผจญภัยสามารถนำไปใช้ปฏิบัติอย่างยั่งยืนและส่งเสริมวิธีปฏิบัติที่อ่อนโยนสำหรับผู้มีส่วนร่วมและชุมชนท้องถิ่น

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับช่วยในการวางแผนอย่างรอบคอบและมีการประเมินความเสี่ยง เช่น การใช้แห่งทรัพยากรพลังงานใช้ซ้ำ มีความตระหนักถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับของเสียและในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศอันเปราะบาง

ISO 21401, Tourism and related services – Sustainability management system for accommodation establishments – Requirements ช่วยให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านสังคมและการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อเศรษฐกิจชุมชน

นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานที่อยู่ในระหว่งการพัฒนาคือ ISO 22525, Tourism and related services – Medical tourism – Service requirements ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ มีการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามระดับที่คนไข้คาดหวัง

มาตรฐานไอเอสโอสำหรับการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228, Tourism and related services  ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญของไอเอสโอในเรื่องการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง  และรับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานในขอบข่ายของคำศัพท์ ข้อกำหนดของการบริการด้านการท่องเที่ยวของผู้ให้บริการการด้านการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้บริโภคมีเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกใช้บริการท่องเที่ยว

สำหรับวันท่องเที่ยวโลกเป็นกิจกรรมประจำปีที่จัดขึ้นโดย UNWTO ซึ่งมีส่วนร่วมในคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอที่ทำการพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยวดังกล่าว

ที่มา :

  1. https://www.iso.org/news/ref2440.htm
  2. https://www.iso.org/committee/375396.html