ตอบโจทย์ความท้าทายภาคเกษตรกรรมด้วยฟาร์มอัจฉริยะ

welcome-to-smart-farming

ภาคเกษตรกรรมถูกท้าทายเป็นอย่างมากในการที่จะต้องเลี้ยงดูผู้คนทั่วโลกเป็นจำนวนมากในอนาคต ซึ่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทำนายว่าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นราว 9.6 พันล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) และแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ก็คือ “ฟาร์มอัจฉริยะ” นั่นเอง

ไอเอสโอได้กล่าวถึงเทคนิคการทำฟาร์มด้วยเทคโนโลยีระดับสูงและเทคโนโลยีที่สามาถปรับปรุงการผลิตและผลผลิตโดยที่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรด้วย ซึ่งผู้นำขององค์การสหประชาชาติและบุคลากรที่เป็นมืออาชีพด้านมาตรฐานจากทั่วโลก ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟาร์มอัจฉริยะ การผลิตโกโก้ การผลิตผลิตภัณฑ์นมที่เปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า เป็นต้น

ดร.ฟรังซัว โคลิเยร์ ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไอเอสโอในคณะกรรมการวิชาการ ISO/IEC JTC1  (คณะกรรมการวิชาการร่วม)และทำงานด้านนี้มานานนับปีแล้วได้กล่าวว่าตอนนี้ข้อจำกัดของการปฏิวัติสีเขียวได้มาถึงสังคมโลกในศตวรรษที่ 20 แล้ว โลกเราจำเป็นต้องค้นหาหนทางเพื่อทำให้ประชากรโลกมีวิถีชีวิตที่มีความยั่งยืน และแนวทางประการหนึ่งที่จะทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็คือ การผลิตอาหารโดยคำนึงถึงซัพพลายเชนและการดูแลเรื่องการกำจัดของเสียซึ่งต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ตัวอย่างของมาตรฐานที่ไอเอสโอกำลังพัฒนาอยู่ในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 23, Tractors and machinery for agriculture and forestry และคณะอนุกรรมการ Subcommittee SC 19, Agricultural electronics และ คณะอนุกรรมการ ISO/IEC JTC1 SC 41, IoT and related technology เป็นต้น

ไอเอสโอถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ ซึ่งบริษัทเป็นจำนวนมากได้ช่วยสร้างการเจริญเติบโตให้สูงขึ้น สามารถสร้างความได้เปรียบในการทำการเกษตรด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้รวมทั้ง IoT

นอกจากนี้ สมาชิกของไอเอสโอยังมีศักยภาพเป็นอย่างมากที่จะส่งเสริมประโยชน์ในภาคเกษตรกรรม เช่น ชาร์ลส์ ผู้บริหารของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเคนยา (Kenya Bureau of Standards: KEBS) กล่าวว่าท่ามกลางความพยายามในการสร้างสมดุลต่อบทบาทของเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมนั้น มาตรฐานเป็นสิ่งที่ภาคเกษตรกรรมจำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มาตรฐานเหล่านี้จะให้แนวทางเพื่อนำไปใช้เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องจักร และกระบวนการที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน เช่นเดียวกับหนทางสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน

คำถามที่ว่าภาคเกษตรกรรมจะเป็นอย่างไรภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) นั้น “ฟาร์มอัจฉริยะ” จะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ช่วยหล่อเลี้ยงประชากรโลกโดยไอเอสโอได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการสร้างปรากฏการณ์ในการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มอัจฉริยะนั่นเอง

ที่มา: https://www.iso.org/news/Ref2182.htm