โลกต้องเร่งหยุดภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาแนวปะการัง

UN-Calls-for-urgent-need-to-protect-coral-reefs

ในการประชุมเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติระหว่างวันที่ 13 – 29 พฤศจิกายน 2561 ที่ชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ มีผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 190 ประเทศ ได้มาร่วมประชุมเพื่อหยุดยั้งความสูญเสียด้านความหลายหลายทางชีวภาพและปกป้องระบบนิเวศที่สนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ รวมทั้งสุขภาพที่ดีของคนทั่วโลก

ในการประชุม ดังกล่าว อีริค ซอลไฮม์ หัวหน้าโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าปัจจุบัน การทำลายปะการังใต้น้ำจะทำให้โลกของเราเผชิญหน้ากับอนาคตที่น่ากลัว

เนื่องจากแนวปะการังเป็นแหล่งสำหรับอาหารและหมายถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก ซึ่งช่วยให้หนึ่งในสี่ของชีวิตในท้องทะลมีชีวิตอยู่ได้ อีกทั้งยังปกป้องชุมชนและแนวชายฝั่งจากภัยอันตรายจากธรรมชาติด้วย หากขาดการปกป้องแนวปะการังแล้ว ก็อาจเกิดการสูญเสียอย่างถาวรได้

องค์กรสากล 8 องค์กรจึงได้เข้าร่วมสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเหล่านั้น ได้แก่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์กรกองทุนสัตว์โลกสากล หน่วยงานอนุรักษ์ธรรมชาติ Wildlife Conservation Society, Vulcan Inc. องค์กรแห่งทะเล และ เลขาธิการของอนุสัญญาองค์การสหประชาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (UN Convention on Biological Diversity: CBD)

ความคาดหวังเพื่อความร่วมมือดังกล่าวจึงมีสูงมาก การปกป้องแนวปะการังจะต้องเป็นสิ่งที่โลกให้ความสนใจเป็นอันดับแรก ซอลไฮม์ซึ่งได้เปิดเผยหุ้นส่วนใหม่ที่รีสอร์ทในชาร์ม เอล ชีค มีรัฐมนตรีรวม 12 คนจากประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของ CBD ได้มารวมตัวกันพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจากองค์กรภาคสังคมพลเมืองซึ่งเริ่มกระบวนการรับเอากรอบการทำงานระดับโลกไปใช้ในเวลา 2 ปีเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งแนวปะการังทั่วโลก
การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีสำหรับผู้มีส่วนในการตัดสินใจจากประเทศต่างๆ กว่า 190 ประเทศที่เข้ามามีพันธสัญญาและก้าวไปสู่ความพยายามในการหยุดยั้งความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและปกป้องระบบนิเวศที่เกื้อกูลต่อสุขภาพของเรา ความมั่นคงของอาหารและน้ำ เพื่อคนอีกนับพันล้านคนทั่วโลก

นอกจากนี้ รัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรรวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลเช่น ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเยาวชน และสังคมพลเมือง ได้รับการคาดหวังว่าจะอุทิศตนเพื่อสนับสนุนแผนกลยุทธ์สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างปี 2554 – 2563 (ค.ศ.2011 – 2020)

รายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ซึ่งเผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2561 กล่าวเตือนว่าแม้ว่าเราจะมีการบริหารจัดการให้โลกของเราให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.5 องศาเซลเซียสซึ่งเหนือกว่ายุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ตาม ก็จะยังคงสูญเสียแนวปะการังถึง 70 – 90% ไป หากโลกยังคงไม่สามารถปฏิบัติการลดภาวะโลกร้อนได้ ก็จะเกิดความสูญเสียตามมาอีกอย่างมหาศาล

อย่างไรก็ตาม  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เป็นเพียงการคุกคามหลักอย่างเดียวที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อปะการังเท่านั้น การจับปลาที่มากเกินไป และการพัฒนาชายฝั่ง ตลอดจนมลพิษ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการสูญเสียปะการังในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

การลดภัยคุกคามเหล่านั้นสามารถช่วยฟื้นฟูแนวปะการังและผลกระทบที่ตามมาได้ เช่น ปรากฏการณ์ฟอกขาวซึ่งเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน

เจ้าชายโรเบิร์ตที่สองแห่งโมนาโค ได้กล่าวว่าพระองค์ทรงโสมนัสที่ได้ทรงเห็นว่าแนวปะการังกำลังได้รับความสนใจตามสมควร และโลกของเรากำลังจะก้าวเข้าสู่ปี 2563 (ค.ศ.2020) ในไม่ช้า และจำเป็นต้องมีความเฉียบคมในการมุ่งสู่กลยุทธ์เพื่ออนุรักษ์แนวปะการังและสนับสนุนคนที่ต้องใช้ชีวิตโดยพึ่งพิงอยู่กับมัน  ส่วนการประชุมทั่วไปในโครงการแนวปะการังสากลซึ่งประเทศโมนาโคจะเป็นเจ้าภาพในเดือนธันวาคม 2562 นั้น  จะเป็นก้าวสำคัญซึ่งพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้การประชุมนี้เป็นการนำไปสู่การรับเอาแนวปฏิบัติของโครงการที่เป็นไปได้ไปใช้อย่างมีประสิทธิผลด้วย

ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องเร่งทำทุกวิถีทางเพื่อหยุดภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาแนวปะการังของโลกไว้ให้ได้

ที่มา: https://news.un.org/en/story/2018/11/1025731