แนวทางการจัดการน้ำขององค์กรตามแนวทางสากล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์กรควรพิจารณาขยายขอบเขตความรับผิดชอบ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมการลดผลกระทบจากการดำเนินงานตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยใช้แนวทางการประเมินรอยเท้าน้ำ (Water Footprint) หรือนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซี่งเป็นกรอบแนวทางการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการจัดการน้ำแบบหมุนเวียน (Circular water management)

ศัพท์น่ารู้เพื่อบริหารจัดการน้ำให้ได้ผลในองค์กร

ปัจจุบัน มีมาตรฐานการบริหารจัดการที่ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้แต่ละองค์กรนำมาใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กร พร้อมรับมือกับสถานการณ์การลดลงของปริมาณน้ำและการขาดแคลนน้ำ โดยมาตรฐานต่าง ๆ ประกอบด้วยคำศัพท์ แนวคิด และหลักการ ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการประกอบกิจการของตน

ปัจจัยความสำเร็จเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน สถานการณ์วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลให้บางประเทศมีน้ำใช้ลดลง ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ หรือประสบปัญหามลพิษทางน้ำหรือแหล่งน้ำเสีย ภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจึงปรับตัวและเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยนำวิธีการบริหารจัดการน้ำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในองค์กร เพื่อให้องค์กรอยู่รอดได้เมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤตน้ำ

GRI กับการเปิดเผยข้อมูล ESG

เพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสนับสนุน SDG 6 ผู้เขียนจึงขอนำเสนอแนวทางการรายงานข้อมูลความยั่งยืนขององค์กรด้านน้ำ หนึ่งในตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานการจัดทำรายงาน Global Reporting Initiative (GRI) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ภาพรวมการใช้น้ำขององค์กร และวิธีการบริหารจัดการน้ำ