ท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืน

การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังมีความไม่เท่าเทียมกันเท่าใดนักและมีแนวทางปฏิบัติมากมายที่อาจขัดขวางความก้าวหน้าได้ ด้วยเหตุนี้ ไอเอสโอจึงพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้นมาหลายฉบับด้วยกัน

ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานช่วยเมืองจัดงานอีเว้นท์ใหญ่

การใช้มาตรฐาน ISO 22379 จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เมืองมีความสามารถในการเป็นเจ้าภาพในแบบที่มีส่วนร่วมต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติด้วย

ISO 14007 ช่วยประเมินคุณค่าของการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

องค์กรจำเป็นต้องรู้ว่าตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและกลยุทธ์ใดที่ช่วยในเชิงเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่น การประเมินทรัพยากรธรรมชาติและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นทั้งเรื่องทางกลยุทธ์และกลวิธีที่สำคัญในโครงการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งมาตรฐาน ISO 14007 สามารถช่วยองค์กรได้ในเรื่องนี้

ทำไมต้องจัดซื้ออย่างยั่งยืน

มาตรฐานอาหารที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งภาคการเกษตรด้วย ทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากแนวทางและวิธีปฏิบัติของมาตรฐานไอเอสโอนับตั้งแต่การเพาะปลูก ไปจนถึงการผลิตและการบรรจุหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการตอบสนองต่อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ และทำให้เกิดความปลอดภัยและความยั่งยืน ซึ่งสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาของโลกในด้านโภชนาการและการยุติความหิวโหยได้

มาตรฐานไอเอสโอช่วยยกระดับการท่องเที่ยวสากล

พาลัด ซิงห์ พาเทล รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันท่องเที่ยวโลกกล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคส่วนชั้นนำที่มีการจ้างงานถึง 10% ของการจ้างงานทั่วโลก และการพัฒนาการท่องเที่ยวมีส่วนเชื่อมโยงโดยตรงต่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรฐานหลายมาตรฐานของไอเอสโอมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โลกมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างงานที่ดี มีคุณค่ามากขึ้นด้วย

แนะนำมาตรฐานใหม่ ช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อน

มาตรฐานใหม่ที่กำลังพัฒนานี้มีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดที่เรียกว่าการแผ่รังสี (radiative forcing) ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มีการดูดซับไปโดยโลกของเราและพลังงานที่มีการแผ่รังสีกลับไปยังอวกาศ ซึ่งเมื่อพลังงานที่กำลังแผ่เข้ามายังโลก มีมากกว่าพลังงานที่กลับออกไป ชั้นบรรยากาศของโลกจึงเกิดความอุ่น ดังนั้น อุณหภูมิของโลกจึงสูงขึ้น

มาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

มาตรฐาน ISO 21401, Tourism and related services – Sustainability management system for accommodation establishments – Requirements เป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำระบบการจัดการด้านความยั่งยืนไปใช้ในด้านที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว

ชีวิตสวยงามด้วย “มาตรฐานไอเอสโอ” ที่ทุกคนเข้าถึงได้

ด้วยความร่วมมือระหว่างไออีซี ไอทียูและไอเอสโอ จึงมีการพัฒนามาตรฐาน ISO/IEC Guide 71, Guide for addressing accessibility in standards ขึ้นมาซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการช่วยให้ผู้พัฒนามาตรฐานมีการพิจารณาถึงประเด็นด้านการเข้าถึง (accessibility) ของคนทุกประเภทเมื่อทำการพัฒนาหรือทบทวนมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่เคยมีการพิจารณาในเรื่องนี้มาก่อน

โลกกำลังก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วย “การเงินที่ยั่งยืน”

การปรับตัวให้สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกนั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนที่มีนัยสำคัญพอสมควร กล่าวคือ ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ควรมีการลงทุนประมาณ 90 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แม้ว่าจะมีการลงทุนโครงการสีเขียวและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนไปแล้ว แต่โลกของเรายังจำเป็นต้องมีการลงทุนเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

จัดซื้ออย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐาน ISO 20400

สำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 12 เรื่องการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) นั้น การบรรลุเป้าหมายนี้จำเป็นต้องมีกรอบการดำเนินงานระดับประเทศสำหรับการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนที่รวมเอาแผนงานระดับภาคส่วนและระดับประเทศ การปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืน และพฤติกรรมผู้บริโภค ให้เข้ากับบรรทัดฐานระดับสากลในเรื่องของการบริหารจัดการสารเคมีอันตรายและของเสีย