
กีฬาโอลิมปิกเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่ดึงดูดให้คนทั่วโลกเข้าไปท่องเที่ยวและสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พร้อมกันนั้นก็นำมาซึ่งความเสี่ยงหรืออันตรายในด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย และเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานใหม่ที่จะช่วยให้เมืองมีการจัดการกับงานใหญ่ๆ เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยของสาธารณชนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดงาน
มาตรฐาน ISO 22379, Security and resilience – Guidelines for hosting and organizing large citywide events มีเป้าหมายในการจัดเตรียมแนวทางและความเชี่ยวชาญด้านวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัยของสาธารณชน และความต่อเนื่องของการบริการระหว่างที่มีการจัดงานใหญ่
มาตรฐานนี้จะเป็นมาตรฐานสากลฉบับแรกของโลกที่จะนำเอาความรู้และวิธีการที่ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการจัดการใหญ่อย่างโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียว ในปี 2020 และโอลิมปิกฤดูหนาวในปักกิ่ง รวมทั้งงานเบอร์ลินมาราธอน เข้ามารวมกัน
อีวาร์โคลุนด์ ผู้ประสานงานของกลุ่มงานที่พัฒนามาตรฐาน กล่าวว่าสิ่งที่ทำให้มาตรฐานนี้ทรงคุณค่าและโดดเด่นไม่เหมือนใครก็คือมาตรฐานนี้จะเป็นผลผลิตของบทเรียนและการเรียนรู้ของเมืองจำนวนมากและผู้จัดงานอีเว้นท์ทั่วโลก
เขากล่าวว่า เมืองจำนวนมากมองว่าอีเว้นท์ระดับสากลเช่นนี้ดึงดูดผู้คนจำนวนมากเข้ามาและเป็นวิธีการหลักในการส่งเสริมเมืองให้ก้าวไปสู่ระดับโลก แต่การที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร
สิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในปัจจุบันก็คือแต่ละเมืองเริ่มต้นวางแผนงานจากศูนย์โดยไม่ได้รับเอาความรู้เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญหรือความสามารถหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของเมืองอื่นเข้ามาใช้ ดังนั้น มาตรฐานนี้จะช่วยเมืองหรือผู้ใช้งานได้เรียนรู้และได้รับประโยชน์จากการแบ่งปันเรื่องราวดังกล่าว
ลุนด์กล่าวว่าถึงอย่างนั้นก็ตาม ยังไม่มีมาตรฐานสากลใดที่สามารถกล่าวถึงองค์ประกอบทั้งหมดในการเตรียมงานแบบองค์รวม ตลอดจนการลงมือจัดงานให้ประสบความสำเร็จและประเมินผลการทำงานในลักษณะที่มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความยั่งยืน
การใช้มาตรฐาน ISO 22379 จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เมืองมีความสามารถในการเป็นเจ้าภาพในแบบที่มีส่วนร่วมต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติด้วย
มาตรฐาน ISO 22379 ยังช่วยให้เมืองตัดสินใจว่าควรจะจัดงานหรือไม่ เนื่องจากจะช่วยให้เมืองสามารถระบุความเสี่ยงที่แท้จริงและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นด้วย
มาตรฐานนี้จะเป็นประโยชน์มากเมื่อใช้เสริมกับมาตรฐาน ISO 20121, Event sustainability management systems – Requirements with guidance for use ซึ่งให้กรอบการทำงานสำหรับการปฏิบัติงานในอีเว้นท์ที่ยั่งยืนในระดับสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน มาตรฐานยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการพัฒนา
มาตรฐานนี้ ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 292, Security and resilience ซึ่งมี SIS สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน เป็นเลขานุการ
มาตรฐานดังกล่าวมีส่วนในการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในข้อ 3 Good Health and Well-being, ข้อ 6 Clean Water and Sanitation, ข้อ 7 Affordable and Clean Energy, ข้อ 8 Decent Work and Economic Growth, ข้อ 9 Industry, Innovation and Infrastructure, ข้อ 10 Reduced Inequality, ข้อ 11 Sustainable Cities and Communities, ข้อ 12 Responsible Consumption and Production, ข้อ 13 Climate Action, Peace และข้อ 16 Justice and Strong Institutions