ท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืน

Standards-for-Sustainable-Tourism

เหตุการณ์เมื่อก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19  การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ปัจจุบัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบางส่วนค่อยๆ เริ่มฟื้นตัวขึ้นมา  ความท้าทายจึงกลายเป็นการทำให้การท่องเที่ยวหลังการระบาดใหญ่กลับคืนมาอีกครั้งในรูปแบบที่ยั่งยืนมากกว่าเดิม

การท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลก โดยสามารถทำให้เกิดงานจำนวน 1 ใน 10 ตำแหน่งทั่วโลก อุตสาหกรรมนี้ยังมีศักยภาพที่มีคุณค่าในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ประการขององค์การสหประชาชาติเกือบทั้งหมดด้วย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (SDG 15, Life on Land), การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร (SDG 14, Life under Water), การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG 12, Responsible Consumption and Production) และการขจัดความยากจน (SDG 1, No Poverty)

เรามาดูกันว่ามาตรฐานไอเอสโอด้านการท่องเที่ยวสามารถช่วยอะไรได้บ้าง

การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังมีความไม่เท่าเทียมกันเท่าใดนักและมีแนวทางปฏิบัติมากมายที่อาจขัดขวางความก้าวหน้าได้ ด้วยเหตุนี้ ไอเอสโอจึงพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้นมาหลายฉบับด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

ISO 23405, Tourism and related services – Sustainable tourism – Principles, terminology and model เป็นมาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หลักการ คำศัพท์และแบบจำลอง มาตรฐานนี้จะสร้างเวทีสำหรับอุตสาหกรรมโดยการให้คำจำกัดความและคำศัพท์ที่ตกลงกันไว้ซึ่งสามารถใช้รูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ และสามารถใช้ได้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน โดยไม่คำนึงถึงขนาดและสถานที่ตั้ง

มาตรฐานนี้จะช่วยให้มีการระบุ การประเมิน และการบรรเทาผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่น ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาคุณภาพการบริการในระดับสูงและสามารถปกป้องผู้ปฏิบัติงานได้ด้วย

ที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งแคมป์หรือโรงแรมระดับห้าดาว ล้วนแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น มาตรฐาน ISO 21401 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อกำหนดระบบการจัดการความยั่งยืนสำหรับสถานประกอบการด้านที่พัก ซึ่งสามารถส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้

มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจสำหรับการนำระบบการจัดการความยั่งยืนมาใช้ในที่พักนักท่องเที่ยว โดยกล่าวถึงประเด็นต่างๆ เช่น สิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงานและลูกค้าหรือแขกผู้มาเยือน การปกป้องสิ่งแวดล้อม การใช้น้ำและพลังงาน การสร้างของเสีย และการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น

การรักษาชายหาดของเราให้สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่ทำให้การมาเยี่ยมเยือนเป็นประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังดีสำหรับโลกของเราด้วย ชายหาดสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งของโลกเรา ก็คือ ทะเล ด้วย

ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 13009 ขึ้นมา เพื่อให้มาตรฐานนี้เป็นมาตฐานด้านการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง  เป็นข้อกำหนดและคำแนะนำสำหรับการดำเนินงานชายหาด ซึ่งให้แนวทางที่ตกลงกันในระดับสากลที่ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ความปลอดภัยของชายหาดและทางน้ำ ไปจนถึงการทำความสะอาด โครงสร้างพื้นฐาน การกำจัดของเสีย การวางแผนและการส่งเสริม นอกจากนี้ ยังช่วยให้แน่ใจว่ากิจกรรมความบันเทิงในพื้นที่ดำเนินการภายใต้กรอบความรับผิดชอบต่อสังคมและให้คำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยสำหรับผู้มาเยี่ยมเยือน

ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่ามีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตรวมทั้งการท่องเที่ยว  อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแบบผจญภัยมีแนวโน้มจะเริ่มต้นมากขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวใช้เสรีภาพอย่างเต็มที่และแสวงหาประสบการณ์ที่ท้าทายมากขึ้น  ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 20611 ขึ้นมา มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อความยั่งยืน  มีข้อกำหนดและข้อแนะนำที่ให้แนวทางทั้งหมดแก่ผู้ให้บริการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยเพื่อให้มั่นใจว่าการผจญภัยเหล่านี้ดีต่อโลกด้วยเช่นกัน มาตรฐานนี้มีความหมายมากกว่าการรีไซเคิล โดยให้แนวทางที่ครอบคลุมซึ่งรวมถึงการให้ความรู้แก่ลูกค้าและการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นในเชิงรุก

การปกป้องชีวิตใต้น้ำเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของ SDG 14 ซึ่งมีภารกิจในการอนุรักษ์และใช้มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  ชุมชนการดำน้ำจึงสามารถมีบทบาทเชิงบวกได้ และเพื่อสนับสนุนในเรื่องนี้ ไอเอสโอจึงพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับการดำน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีมาตรฐาน 2 ฉบับที่มีจุดมุ่งหมายโดยตรงสำหรับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

ตัวอย่างเช่น ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving ซึ่งเป็นข้อกำหนดและคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมในการดำน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ที่ช่วยให้ศูนย์ดำน้ำและบริการต่างๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทางน้ำ แบะมีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากล เช่น การขัดขวางไม่ให้นักดำน้ำให้อาหารหรือกำจัดสัตว์น้ำ หรือวิธีใช้งานเรือในลักษณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานนี้สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน  ISO 21417,Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับบริการดำน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับการฝึกอบรมความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับนักดำน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้แก่นักดำน้ำเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกีฬาของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการลดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อน่านน้ำของเรา .

มาตรฐานทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการด้านการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวของไอเอสโอ ISO/TC 228, Tourism and related services ซึ่งมีเลขานุการคือ UNE ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสเปน

ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2697.html