คู่มือจัดการการใช้น้ำสำหรับ SMEs

ไอเอสโอได้ร่วมกับศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Center: ITC) ทำการพัฒนาคู่มือไอเอสโอขึ้นมาใหม่ คือ ISO 14046 Environmental Management – Water footprint – A practical guide for SMEs เพื่อช่วยให้องค์กรทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs มีความเข้าใจในมาตรฐานได้ดีขึ้นและได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวางมากขึ้น

ISO 29993 สำหรับผู้ให้บริการด้านการเรียนรู้

ISO 29993 Learning services outside formal education – Service requirements เป็นข้อกำหนดที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงในด้านความโปร่งใสและความเชื่อถือในตลาดการศึกษาด้วยการจัดเตรียมข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับระดับคุณภาพบริการด้านการเรียนรู้ที่เห็นพ้องต้องกันในระดับระหว่างประเทศ

แนะนำ ISO 32000 มาตรฐานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Adobe’s PDF version 1.7 ได้มีการนำมาพัฒนาเป็นมาตรฐาน ISO 32000 เมื่อปี 2551 (ค.ศ.2008) (ISO 32000 -Document management -Portable document format) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมาชิกของกลุ่มงานของคณะทำงานวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 171/SC 2/WG 8 ซึ่งเป็นกลุ่มงานที่รับผิดชอบด้านมาตรฐานก็ได้เริ่มพัฒนาข้อกำหนดซึ่งเพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ข้อกำหนดสำหรับรูปแบบ PDF 2.0 ไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

กพร.รุกส่งเสริมโลจิสติกส์และมาตรฐานความต่อเนื่องทางธุรกิจ


กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมกับ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดีและ
ข้อควรระวังในการนำมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจไปประยุกต์ใช้ในองค์กร โครงการส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยในโซ่อุปทานและการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO 28000 & BCM) และพิธีมอบเกียรติบัตร แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2560 เมื่อวันที่
25 สิงหาคม พ.ศ.2560 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

สรอ.รับการตรวจประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ พร้อมคณะผู้สังเกตการณ์จาก PAC เพื่อการรับรองระบบงานสาขาหน่วยรับรองระบบการจัดการพลังงาน

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) โดยผู้อำนวยการสถาบัน ผู้บริหาร และพนักงานสถาบัน ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และคณะผู้สังเกตการณ์จาก The Pacific Accreditation Cooperation (PAC) ซึ่งเป็นองค์กรภูมิภาคแปซิฟิคว่าด้วยการรับรองระบบงานในการสร้างระบบการให้การยอมรับในระดับสากลสำหรับการรับรองระบบการจัดการ ผลิตภัณฑ์ บริการ บุคลากร และการตรวจสอบรับรองอื่นๆ

สรอ. รวมพลังจิตอาสา ในการบริหารจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม และการอานวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่มาถวายสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ โดยผู้อำนวยการสถาบันฯ ผู้บริหาร และพนักงานสถาบันฯ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม รวม 181 คน เข้าร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการบริหารจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาถวายสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2560

สรอ. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการงานประชุมสัมมนาวิชาการ OIE Forum ประจำปี 2560

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ได้รับเชิญจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ร่วมจัดแสดงนิทรรศการงานประชุมสัมมนาวิชาการ OIE Forum ประจำปี 2560 เรื่อง “Industry 4.0 Roadmap : Transforming towards Thailand 4.0, อุตสาหกรรม 4.0 จุดเปลี่ยนประเทศไทย” เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางการพัฒนาภารกิจให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และแนวทางการเปลี่ยนผ่าน
สู่การปฏิรูปอุตสาหกรรมในอนาคต ในวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560
ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี

สรอ. ร่วมจัดสัมมนาวิชาการด้านมาตรฐานระบบการบริหารจัดการ งาน Thailand Industry Expo 2017

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ร่วมจัดสัมมนาวิชาการด้านมาตรฐานระบบการบริหารจัดการ งาน Thailand Industry Expo 2017 กับกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันที่ 25 – 30 กรกฎาคม 2560 ภายใต้แนวคิด “ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 สรรค์สร้างโอกาสอนาคตไทย”
(One Transformation, Thousand Opportunities)
ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพค เมืองทองธานี

องค์กรยุคใหม่ ใส่ใจ ISO 26000 ตอนที่ 2

มาร์คแอนด์สเปนเซอร์เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นผู้บุกเบิกที่มีความโดดเด่นในด้านความสามารถในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนด้วยการนำแผน A ไปใช้เมื่อปี 2550 (ค.ศ.2007) เพื่อช่วยปกป้องโลกด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ ลดของเสียและช่วยเหลือชุมชน แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากซัพพลายเออร์ ดังนั้น เมื่อปี 2556 (ค.ศ.2013) บริษัทจึงหันมาใช้ ISO 26000 เป็นแนวทางในการส่งเสริมวิธีปฏิบัติที่เป็นธรรมตลอดทั้ง
ซัพพลายเชน

องค์กรยุคใหม่ ใส่ใจ ISO 26000 ตอนที่ 1

ทั้งนี้ โดรนเชิงพาณิชย์ที่กำลังมีการศึกษานี้ทำการบินได้ช้า จึงเสียเวลาในการเดินทางซึ่งอเมซอนกำลังพัฒนาอยู่ โดยวางแผนให้โดรนสามารถบินในระดับสูงกว่าเดิมและบินได้เร็วประมาณ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งพยายามหาวิธีทำให้เสียงของโดรนเบาลงด้วย