Climate Change – ISO Amendments to management system standards


ดูเพิ่มเติม

ISO 14001

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(Environment Management System:EMS)


ดูเพิ่มเติม

การจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ (TCAS/มตช.10)


ดูเพิ่มเติม

โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS


ดูเพิ่มเติม

Public Training Plan 2024


ดูเพิ่มเติม

Inhouse Training Plan 2024


ดูเพิ่มเติม

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของ กระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) ก่อตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถ ด้านการรับรองของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ สรอ.มีความมุ่งมั่นต่อความเป็น กลางและ ไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการด้านการตรวจและการรับรอง

เราช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร?
  • เพิ่มโอกาสทางการค้าและการเข้าสู่ตลาดใหม่
  • พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ
  • เสริมสร้างนวัตกรรม

Highlight

ค้นหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ

กลุ่มอุตสาหกรรม/ธุรกิจ

เรียนรู้และเตรียมความพร้อมไปกับเรา

การอบรม/สัมมนา

บริการฝึกอบรม (Training) และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching) ในการพัฒนาองค์กรด้านการจัดการระดับสากลและระดับประเทศ

การอบรม/สัมมนาที่กำลังจะจัดขึ้น

หน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้าฝึกอบรมในหลักสูตร Public Training ของสรอ. สามารถนำค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมไปหักค่าใช้จ่ายได้ จำนวนร้อยละ 200 ของรายจ่ายค่าลงทะเบียน
เนื่องจากสรอ. เข้าลักษณะเป็นสถานฝึกอบรมวิชาชีพที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
(อ้างอิงจากเว็บไซต์ กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/publish/28631.0.html)

เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรฐาน

แนะนำมาตรฐานใหม่ล่าสุด เสริมแกร่ง ISO 45001

ไอเอสโอได้เผยแพร่มาตรฐาน ISO 45002 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 283, Occupational Health and Safety Management โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำ การใช้งาน การบำรุงรักษา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OH&S) ที่สามารถช่วยให้องค์กรปฏิบัติตาม ISO 45001 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม

ก้าวสู่ SDGs ด้วยมาตรฐานไอเอสโอ

องค์กรและบริษัทต่างๆ ที่ต้องการมีส่วนร่วมใน SDGs ต่างพบว่ามาตรฐานสากลมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวไปสู่ความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิผล และมาตรฐานสากลยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้รัฐบาล อุตสาหกรรม และผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อด้วย

องค์กรก้าวไกลด้วยมาตรฐานสากล

การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น

อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

มาตรฐานความยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน กำลังได้รับการพัฒนาในระดับประเทศและระดับโลกโดยองค์กรต่างๆ รวมถึงไอเอสโอผ่านคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 323, Circular Economy ซึ่งดำเนินการเพื่อมาตรฐานการออกแบบเชิงนิเวศที่คำนึงถึงการบริโภควัสดุที่ยั่งยืน พลังงานและทรัพยากรอื่นๆ ในทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนา

ดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย ISO/IEC 27001

บริษัทต่างๆ ทั่วโลกได้ตอบสนองต่อแรงกดดันของภัยคุกคามทางดิจิทัลโดยการนำ ISO/IEC 27001 ไปใช้ มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่รู้จักกันดีที่สุดในโลกสำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management Systems: ISMS) ซึ่งเป็นเอกสารชุดนโยบาย ขั้นตอน กระบวนการ และระบบที่จัดการความเสี่ยงของข้อมูลสูญหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ การเจาะข้อมูล การรั่วไหลของข้อมูล หรือการโจรกรรม ดังนั้น องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับใช้กรอบความคิดที่ยืดหยุ่นต่อโลกไซเบอร์

“เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” BCM จึงช่วยองค์กรได้

การหยุดชะงักของธุรกิจคือประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่กังวล แต่หากบริหารจัดการได้ดี ก็จะเป็นประโยชน์และเกิดโอกาสอีกมากมาย แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ขึ้น การมีแผนงานและความสามารถด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งมาตรฐานสากล ISO 22301 เป็นมาตรฐานฉบับแรกของโลกที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อดำเนินการและรักษาแนความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

MASCI ให้การต้อนรับผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ในโอกาสการตรวจเยี่ยมสถาบันฯ

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับเกียรติจาก นายเอกนิติ รมยานนท์ และนายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ตรวจเยี่ยมสถาบันฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง SHARING ชั้น 18 นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ร่วมให้การต้อนรับผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ โดย MASCI ได้นำเสนอวัตถุประสงค์การจัดตั้ง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และผลการดำเนินงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบาย MIND ใช้ หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และ MASCI ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยมีการหารือในประเด็นต่างๆ รวมถึง การส่งเสริมการใช้มาตรฐานที่สำคัญและสอดคล้องกับการดำเนินงานในบริบทใหม่ อาทิ มาตรฐานระบบการจัดการการต่อต้านการติดสินบน (ISO 37001) มาตรฐานระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (ISO 27001) มาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม (มอก. 9999) มาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (มอก.14061-1) โครงการชดเชยและการลดคาร์บอนสำหรับการบินระหว่างประเทศ (CORSIA) นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในประเด็นการส่งเสริมการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ การเสริมสร้างความรู้ด้านการมาตรฐานที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ให้แก่บุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด  การร่วมดำเนินโครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน”  และการพัฒนาโครงการสำคัญ (Flagship) เพื่อปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมโดยใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของสถาบันเครือข่าย ซึ่งเป็นการใช้มาตรฐานในการจัดการให้เกิดความสมดุลของการดำเนินงานอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าและมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI ร่วมกิจกรรมเปิดตัวโครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ได้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัวโครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในภาคอุตสาหกรรม โดยมี ดร. ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และมีคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่าย เข้าร่วม ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 และชั้นดาดฟ้า อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้รับมอบอุปกรณ์เชิงสัญลักษณ์ด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานที่ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล จาก ดร. ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานในพิธี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดตามพระราชปณิธาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่าย ได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปกป้องสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามมินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยนายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร  ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กล่าวถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกับคณะผู้บริหารและพนักงานสถาบันฯ  ขับร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” และ “สดุดีจอมราชา” และจัดให้มีการลงนามถวายพระพรชัยมงคล เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567  ณ ห้อง SHARING ชั้น 18 ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนา “ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ Driving the organization to sustainability with the professional skills” (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ด่วน!!! รับจำนวน 100 คน

ตามที่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้มอบหมายให้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) เป็นผู้ดำเนินโครงการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพเข้าสู่มาตรฐานสากล (ISO/IEC 17024) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ (องค์กรฯ) ให้มีระบบการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานสากล และพัฒนาบุคลากรขององค์กรฯ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการรับรองบุคลากรตามมาตรฐานอาชีพของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และมีผลต่อการเป็นที่ยอมรับในระดับ  สากล นั้น MASCI ได้กำหนดจัดสัมมนา หัวข้อ “ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ Driving the organization to sustainability with the professional skills” ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพเข้าสู่มาตรฐานสากล (ISO/IEC 17024) ปีงบประมาณ 2567 สถานที่จัดงานสัมมนา : ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค วันงานสัมมนา : วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 น.-15.30 น. พบกับการบรรยายพิเศษในเรื่อง ยกระดับสมรรถนะบุคลากร ยกระดับศักยภาพองค์กร ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการงานบุคคล จากสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย Upskill Reskill กับการขับเคลื่อน ESG สู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดย ผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรขององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจภาคการผลิต และภาคบริการ ผู้สนใจทั่วไป ขอเรียนเชิญท่านและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว (ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยสมัครออนไลน์ได้ที่ https://tinyurl.com/2aeh9lo5  (ภายในศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 หรือเมื่อครบตามเป้าหมาย) Download เอกสารประกอบการสัมมนา: https://tinyurl.com/26xzamrh สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ฝ่ายบริการเทคนิค แผนกพัฒนาระบบงาน ติดต่อ: คุณกุลธิดา ยอดมาลี โทรศัพท์: 0 2617 1727 ต่อ 807, 096-835-6951 E-mail:  kullathida@masci.or.th

MASCI ร่วมกับสถาบันชั้นนำ จับมือ LH Bank ผลักดันผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “โครงการเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการ” ระหว่างธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  (LH Bank) กับ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) และบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (ABEAM)  ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนได้ต่อไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ณ LH Bank สำนักงานใหญ่ โครงการเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการ (Green Transition Advisory Loan) เป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงินในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัว และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยพัฒนาการดำเนินงานในภาคการผลิตและบริการด้วยการให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ประหยัดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมสนับสนุนด้านเงินทุน ในรูปแบบสินเชื่อเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Green Transition Loan) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ LH Bank  ได้กล่าวว่า LH Bank มีนโยบายให้ความสำคัญกับการสนับสนุน SMEs ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดย GDP ของ SMEs มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศ ทั้งนี้ กลุ่ม SMEs เป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain หากไม่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจากมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการ EEI ได้กล่าวว่า EEI มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Green Transition อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในกระบวนการผลิต การรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งระดับองค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) การใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) นางสาวสุปรีดา จิราวงศ์ศรี ผู้บริหารระดับสูง ABEAM ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำระดับโลก ได้กล่าวว่า ABEAM พร้อมสนับสนุนให้บริการที่ปรึกษาแบบครบวงจรด้านระบบประเมินการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emission Assessment) พร้อมการจัดทำรายงานให้แก่ลูกค้าของธนาคาร เพื่อประมาณการการลงทุนได้อย่างแม่นยำ และสามารถใช้ข้อมูลจากรายงานเพื่ออ้างอิงในการยื่นขออนุมัติสินเชื่อ นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการ MASCI ได้กล่าวถึงบทบาทของ MASCI ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวว่าในฐานะหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ (Validation and Verification) ด้านก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานระดับประเทศและสากลที่เป็นที่ยอมรับ ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรของโครงการในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากลและได้รับการรับรองตามมาตรฐาน CFO หรือ T-VER เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลกต่อไป ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

OIE และ MASCI จัดสัมมนา “กรอบแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG”

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ./OIE) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ./MASCI) ดำเนินงาน “โครงการสร้างระบบข้อมูลและองค์ความรู้ด้านมาตรฐานระบบการจัดการและการเตือนภัย ปีงบประมาณ 2567” ซึ่งได้มีการจัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “กรอบแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตาม ESG” เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ กรุงเทพฯ OIE มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเตรียมความพร้อมในการรับมือกับอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าของประเทศต่างๆ มีการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านมาตรฐานและกฎระเบียบ การปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมให้ทันสมัยอยู่เสมอ จึงได้มอบหมายให้ MASCI จัดทำและดำเนิน “โครงการสร้างระบบข้อมูลและองค์ความรู้ด้านมาตรฐานระบบการจัดการและการเตือนภัย ปีงบประมาณ 2567” เพื่อให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบแนวโน้ม ความเคลื่อนไหว และผลกระทบจากการประกาศใช้มาตรฐานและกฎระเบียบที่สำคัญอันเป็นการเตือนภัยล่วงหน้าอย่างทันท่วงที โดยแจ้งผ่านศูนย์ข้อมูลองค์ความรู้ด้านมาตรฐานระบบการจัดการและการเตือนภัย และจัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “กรอบแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตาม ESG”  ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ MASCI โดยนายสำราญ สอนผึ้ง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารงานทั่วไป และนางกัสมา วารีรักษ์จรุงกิจ ผู้จัดการแผนกอาวุโส แผนก Business Excellence ร่วมบรรยายกรอบแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG และแนวโน้ม ความเคลื่อนไหวและผลกระทบจากการประกาศใช้ มาตรฐาน/กฎระเบียบที่สำคัญ สำหรับโครงการฯ ในปีนี้ เน้นการศึกษา`เชิงลึกในประเด็นที่อยู่ในความสนใจ คือ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานที่สำคัญ 3 มิติ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (E: Environmental) มิติสังคม (S: Social) และมิติธรรมาภิบาล (G: Governance) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ESG ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ ปรับตัว และเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป ท่านสามารถติดตามข่าวสาร องค์ความรู้ ข้อมูลเชิงลึก ฐานข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการและมาตรฐานอื่นๆ รวมถึงกฎระเบียบทางการค้าในระดับสากล ซึ่งเป็นระบบเตือนภัยด้านมาตรฐานระบบการจัดการให้แก่ผู้ประกอบการไทย  ผ่านศูนย์ข้อมูลด้านมาตรฐานระบบการจัดการ (MASCI Standard Intelligence) ที่ https://intelligence.masci.or.th และ Facebook https://www.facebook.com/MASCIIntelligence ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

กิจกรรมจากพันธมิตร