Climate Change – ISO Amendments to management system standards


ดูเพิ่มเติม

ISO 14001

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(Environment Management System:EMS)


ดูเพิ่มเติม

การจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ (TCAS/มตช.10)


ดูเพิ่มเติม

โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS


ดูเพิ่มเติม

Public Training Plan 2024


ดูเพิ่มเติม

Inhouse Training Plan 2024


ดูเพิ่มเติม

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของ กระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) ก่อตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถ ด้านการรับรองของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ สรอ.มีความมุ่งมั่นต่อความเป็น กลางและ ไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการด้านการตรวจและการรับรอง

เราช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร?
  • เพิ่มโอกาสทางการค้าและการเข้าสู่ตลาดใหม่
  • พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ
  • เสริมสร้างนวัตกรรม

Highlight

ค้นหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ

กลุ่มอุตสาหกรรม/ธุรกิจ

เรียนรู้และเตรียมความพร้อมไปกับเรา

การอบรม/สัมมนา

บริการฝึกอบรม (Training) และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching) ในการพัฒนาองค์กรด้านการจัดการระดับสากลและระดับประเทศ

การอบรม/สัมมนาที่กำลังจะจัดขึ้น

หน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้าฝึกอบรมในหลักสูตร Public Training ของสรอ. สามารถนำค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมไปหักค่าใช้จ่ายได้ จำนวนร้อยละ 200 ของรายจ่ายค่าลงทะเบียน
เนื่องจากสรอ. เข้าลักษณะเป็นสถานฝึกอบรมวิชาชีพที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
(อ้างอิงจากเว็บไซต์ กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/publish/28631.0.html)

เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรฐาน

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสกับ Net Zero

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือปัญหาระดับโลกที่มีการกล่าวถึงผลกระทบในด้านต่างๆ มานานหลายปี นอกจากการแก้ปัญหานี้ในระดับบุคคลด้วยการลดใช้ทรัพยากร หรือหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว สิ่งสำคัญคือองค์กรขนาดใหญ่ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคเกษตรกรรม ต่างก็มีส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบดังกล่าว ดังนั้น ทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันปรับเปลี่ยนการทำงาน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด

แนะนำมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

มาตรฐานนี้เหมาะสำหรับเจ้าของ ผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการสวนป่า ใช้สำหรับการยื่นสมัคร เพื่อขอการรับรองพื้นที่สวนป่าไม้เศรษฐกิจของตนเอง รวมท้ังเป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับผู้รับเหมาและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สวนป่าไม้เศรษฐกิจที่ขอการรับรองด้วย

สร้างอนาคตด้วยการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

โดยทั่วไป เมื่อนึกถึงเรื่องของความยั่งยืน การจัดซื้ออาจไม่ใช่สิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ห่วงโซ่อุปทานของบริษัท (หรือองค์กร) มีบทบาทอย่างมากในการพิจารณาว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความยั่งยืนเพียงใด ตัวอย่างเช่น รายงานด้านความยั่งยืนของแม็คคินซีย์ระบุว่า ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทด้านการบริโภคทั่วไปมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 80 และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ยังสามารถติดตามผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแนวทางการจัดซื้อได้อีกด้วย

“เศรษฐกิจแบ่งปัน” ตอบโจทย์ยุคใหม่ ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า

มาตรฐานมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่ารูปแบบธุรกิจใหม่ของเศรษฐกิจแบ่งปันดังกล่าวจะบรรลุตามคำมั่นสัญญาที่มีความยั่งยืนมากขึ้นไปพร้อมๆ กับป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้ปฏิบัติงานในขณะที่การค้าของโลกเราเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลและแนวโน้มอื่นๆ ดังนั้น องค์กรด้านการมาตรฐานจะต้องมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้กำหนดนโยบาย รวมทั้งผู้บริโภคเพื่อช่วยวางรากฐานสำหรับการค้าในอนาคตด้วย

นักดำน้ำ…โลกใต้ทะเล…และมาตรฐานไอเอสโอ

การดำน้ำลึกเป็นความหลงใหลอย่างยิ่งสำหรับนักดำน้ำนับล้านคนทั่วโลก พวกเขาต่างมีความรักในโลกใต้น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดำน้ำที่ขาดการฝึกฝนด้วยความรับผิดชอบ สามารถทิ้งร่องรอยของตัวเองไว้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผจญภัยใต้น้ำ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีการดำน้ำอย่างยั่งยืน ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมา 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers

สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวตามเทรนด์โลกด้วยมาตรฐานไอเอสโอ

โรงแรมและที่พักมีความสำคัญต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวและมีศักยภาพมหาศาลสำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และทั่วโลกยังคงให้ความสนใจในด้านความยั่งยืนซึ่งช่วยทำให้ผู้คนทั่วโลกปรารถนาที่จะสัมผัสการบริการและผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนมากขึ้น เมื่อนักเดินทางตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนมากขึ้น ก็จะสามารถเพลิดเพลินกับวันหยุดอย่างมีความสุข โดยตระหนักรู้ว่าพวกเขามีส่วนในการปกป้องโลกของเราด้วยการเลือกที่พักที่ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอันเป็นแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวของโลกที่สำคัญ

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

MASCI ร่วมยินดี กฟภ. ได้รับการรับรองระบบ Software Engineering ISO 29110

ดร.ชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายรับรองระบบและกำกับดูแลสายธุรกิจ CAB สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ร่วมแสดงความยินดีกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ./ PEA) ที่ได้รับการรับรองระบบ Software Engineering ISO/IEC 29110-4-1: 2018 จาก MASCI ในงาน Grand Opening Carbonform: Drive Net Zero Together by PEA เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ณ อาคาร LED สำนักงานใหญ่ PEA ชั้น 1 กฟภ. โดย นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้เกียรติเป็นผู้แทนรับมอบใบรับรองระบบ Software Engineering ตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110-4-1: 2018 ในขอบข่าย “กระบวนการบริหารจัดการด้านซอฟท์แวร์”  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กฟภ. ในการพัฒนาระบบการจัดการ Software Engineering เพื่อสนับสนุนการเป็นผู้นำในด้านการจัดหาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในส่วนของการให้บริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจที่สร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยการพัฒนาองค์กรและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Digital Utility และเติบโตไปพร้อมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน MASCI ขอแสดงความยินดีและภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การดำเนินระบบการบริหารจัดการของ กฟภ. เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งการได้รับการรับรองฯ ในครั้งนี้เป็นอีกเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อน กฟภ. สู่ความเป็นเลิศทางด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยด้วยทุนมนุษย์ เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค และเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาองค์กรได้ในที่สุด ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI จัดสัมมนา CEMS/มตช.2 เล่ม 2 ทำให้ดี ทำให้เด่น ทำให้ดัง ครั้งที่ 2

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) จัดสัมมนาเรื่อง “CEMS (Circular Economy Management System) มตช. 2 เล่ม 2 ทำให้ดี ทำให้เด่น ทำให้ดัง” ครั้งที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ณ ฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีท ระยอง ซิตี้ เซ็นเตอร์ การสัมมนาในครั้งนี้ ดร.ชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายรับรองระบบ และกำกับดูแลสายธุรกิจ Conformity Assessment Bodies (CAB), MASCI ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายและตอบข้อซักถาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจหลักการ แนวคิด ข้อกำหนด และปัจจัยความสำเร็จของการนำมาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับองค์กรไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร หลักการสำคัญของ CEMS คือ การเพิ่มคุณค่า การคงคุณค่า การฟื้นฟูคุณค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ รวมทั้งระบบนิเวศที่สูญเสียไป และการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กรต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่า โดยมีโครงสร้างของมาตรฐานเช่นเดียวกับมาตรฐานระบบการจัดการอื่นๆ เช่น ISO 9001 ISO 14001 ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม และ/หรือขอรับการรับรอง CEMS/มตช. 2 เล่ม 2 สามารถติดต่อได้ที่ salemasci@masci.or.th ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI มอบเกียรติบัตรระบบการจัดการนวัตกรรม ISO 56002 แก่ ซีพีเอฟ

ดร.ชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายรับรองระบบและกำกับดูแลสายธุรกิจ CAB สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) พร้อมด้วยนายธีระพันธุ์ จันทร์แก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายรับรองระบบและเจ้าหน้าที่ ร่วมแสดงความยินดีกับบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (โรงงานผลิตอาหารสัตว์บก) ในโอกาสได้รับเกียรติบัตรระบบการจัดการนวัตกรรม ISO 56002: 2019 จาก MASCI  เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ณ ห้องบอร์ดรูม ชั้น 30 อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์ สีลม ซีพีเอฟ โดยนายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก ให้เกียรติเป็นผู้แทนรับมอบเกียรติบัตรฯ ดังกล่าว ในขอบข่าย “การบริหารจัดการนวัตกรรมธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์บก”  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรม เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร โดยสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและปลอดภัยได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน MASCI ขอแสดงความยินดีและภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการของซีพีเอฟให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยใช้ “นวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการทำงาน และสนับสนุนยุทธศาสตร์องค์กรที่บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติไว้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการสร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “ครัวของโลก ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพให้แก่ผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลก” ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI ร่วมใจสืบสานประเพณีสงกรานต์ 2567

ผู้บริหารและพนักงานสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน โดยมีผู้บริหารและพนักงาน MASCI เข้าร่วมสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้อาวุโส เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม Sharing ชั้น 18 สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

กรอ.เชิญชวนสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการตรวจประเมินเพื่อการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 – 5 (ไม่มีค่าตรวจประเมิน)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอเชิญชวนสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการตรวจประเมินเพื่อการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 – 5 โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการตรวจประเมินโรงงานสีเขียวแล้วรอรับการตรวจประเมินได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป รายละเอียดโครงการตรวจประเมินสถานประกอบการที่ขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ปี 2567 กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้มอบหมายให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ดำเนินงานโครงการตรวจประเมินสถานประกอบการที่ขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการวัตถุอันตราย และสิ่งแวดล้อม) ระยะเวลาดำเนินงาน 7 เดือน (26 มีนาคม ถึง 21 ตุลาคม 2567) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจประเมินสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4-5 โครงการดังกล่าว เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งได้รับความสนใจจากสถานประกอบการทั่วประเทศในการขอรับการตรวจประเมินเพื่อการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว โดยในปี 2567 นี้ เป็นการตรวจประเมินสถานประกอบการที่มีความประสงค์ขอรับการตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4-5 ซึ่งสถานประกอบการสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อขึ้นทะเบียนและรอรับการตรวจประเมินกับ กรอ.ได้ตามลำดับการสมัครต่อไป MASCI จึงขอเรียนเชิญสถานประกอบการที่มีความสนใจและมีความพร้อมในการตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4-5 เข้าร่วมโครงการเพื่อรับการตรวจประเมิน โดยกรอกใบสมัครเข้าร่วมโครงการ พร้อมแนบเอกสารตามระดับที่ขอการรับรอง โดยขอความอนุเคราะห์จัดเตรียมเอกสารสำหรับใช้ในการตรวจประเมินที่เป็นปัจจุบัน (update) และส่งกลับทาง e-mail : panakarn@masci.or.th; attapon@masci.or.th; parichart@masci.or.th ครั้งละไม่เกิน 10 MB หรือทำ Link ให้ download ดังนี้ รายการเอกสารสำหรับใช้ในการตรวจประเมิน 9 รายการ (แบบฟอร์มดัง Link) : https://drive.google.com/drive/folders/1Ky_x4gT3OfScPwTKjarL0shXC9fG1Tc1?usp=sharing ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ (แบบฟอร์มดัง Link) ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (ระดับปัจจุบันที่ยังคงสถานะการรับรอง/ยังไม่หมดอายุ) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.) หรือ ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) (ทั้งฉบับ) หนังสือแจ้งยืนยันจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เรื่องไม่พบข้อร้องเรียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แบบประเมินเบื้องต้นอุตสาหกรรมสีเขียว (กรุณาเลือกใช้แบบประเมินฯ ตามระดับที่ขอการรับรอง) ระดับที่ 4 (แบบฟอร์มดัง Link) ระดับที่ 5 (แบบฟอร์มดัง Link) Presentation ฉบับเต็ม สถานประกอบการนำเสนอผลการดำเนินงาน ณ วันตรวจประเมิน โดยมีเนื้อหาครบถ้วนตามแบบประเมินเบื้องต้นตามระดับที่ขอการรับรอง (ไม่มีแบบฟอร์มกำหนด) ข้อมูลการใช้ทรัพยากรของโรงงาน (แบบฟอร์มดัง Link) โดยกรอกข้อมูล ข้อมูลของปี 2558 เทียบกับข้อมูลของปี 2565 หรือ ข้อมูลของปี 2566 เทียบกับข้อมูลของปี 2565 (กรณีที่ไม่มีข้อมูลปี 2558) รายการตรวจสอบกฎหมายด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (แบบฟอร์มดัง Link) Presentation ฉบับสรุป สถานประกอบการเป็นผู้จัดทำหลังตรวจประเมินเสร็จ เพื่อให้คณะผู้ตรวจประเมินนำเสนอคณะอนุกรรมการส่งเสริมและรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (แบบฟอร์มดัง Link) หมายเหตุ : กรุณาเลือกใช้แบบฟอร์มตามระดับที่ขอการรับรอง และส่งให้กับผู้ประสานงานหรือคณะผู้ตรวจประเมินหลังจากตรวจประเมินเสร็จ ในกรณีที่ผ่านการตรวจประเมินแล้วไม่พบข้อบกพร่อง หรือพบข้อบกพร่องแต่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว) กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  : โทร. 0 2617 1727 ต่อ 289 คุณปาณกาญจน์ ภัทรนิตย์ panakarn@masci.or.th ต่อ 214 คุณอัฐพล พิริยประกอบ attapon@masci.or.th ต่อ 209 คุณปาริชาติ กันทะวงศ์ parichart@masci.or.th เว็บไซต์สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ เว็บไซต์อุตสาหกรรมสีเขียว

MASCI รับรางวัล “โครงการดีเด่นด้านปฏิบัติเพื่อมุ่งเน้นผลลัพธ์” จากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ได้รับเกียรติจาก นายหาน จื้อเฉียง (H.E. Mr. Han Zhiqiang) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และนางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์  รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ รักษาการปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มอบรางวัล “โครงการดีเด่นด้านปฏิบัติเพื่อมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Project with Outstanding Pragmatic and Result-oriented Approach)” จากการดำเนินโครงการ Circular Economy (CE) Capability Building in the Lancang-Mekong Region: Product Verification of Plastics Packaging in Supply Chains ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC)  โดยมี นายธีรกุล บุญยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายทวนสอบด้านความยั่งยืน Project Manager เป็นผู้รับมอบรางวัลดังกล่าว และร่วมเสวนาถ่ายทอดความสำเร็จของการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานไทยที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกองทุน MLC  ในช่วงสัปดาห์กรอบความร่วมมือแม่โขง–ล้านช้าง ประจำปี 2567 (MLC Week 2024) ร่วมกับผู้บริหารและบุคลากรของ MASCI เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ณ โรงแรม Capella กรุงเทพฯ การดำเนินโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทวนสอบผลิตภัณฑ์ CE (CE Product Verification) สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในโซ่อุปทาน จากหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จไปยังภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีน) นำไปสู่การส่งเสริมขีดความสามารถของการดำเนินการด้านการทวนสอบผลิตภัณฑ์ CE สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในโซ่อุปทานในภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อเร่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่ง MASCI ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานผู้อุปถัมภ์ (Proponent Agency) โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป็นหน่วยประสานงานกลาง (Focal Point) และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ทีม MASCI ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน MASCI ภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่านี้และเป็นส่วนหนึ่งในการนำแนวคิดด้านการทวนสอบผลิตภัณฑ์ CE ไปสู่การปฏิบัติในกลุ่มประเทศในภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง และขยายความร่วมมือกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2030 ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

กิจกรรมจากพันธมิตร