Climate Change – ISO Amendments to management system standards


ดูเพิ่มเติม

ISO 14001

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(Environment Management System:EMS)


ดูเพิ่มเติม

การจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ (TCAS/มตช.10)


ดูเพิ่มเติม

โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS


ดูเพิ่มเติม

Public Training Plan 2024


ดูเพิ่มเติม

Inhouse Training Plan 2024


ดูเพิ่มเติม

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของ กระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) ก่อตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถ ด้านการรับรองของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ สรอ.มีความมุ่งมั่นต่อความเป็น กลางและ ไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการด้านการตรวจและการรับรอง

เราช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร?
  • เพิ่มโอกาสทางการค้าและการเข้าสู่ตลาดใหม่
  • พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ
  • เสริมสร้างนวัตกรรม

Highlight

ค้นหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ

กลุ่มอุตสาหกรรม/ธุรกิจ

เรียนรู้และเตรียมความพร้อมไปกับเรา

การอบรม/สัมมนา

บริการฝึกอบรม (Training) และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching) ในการพัฒนาองค์กรด้านการจัดการระดับสากลและระดับประเทศ

การอบรม/สัมมนาที่กำลังจะจัดขึ้น

หน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้าฝึกอบรมในหลักสูตร Public Training ของสรอ. สามารถนำค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมไปหักค่าใช้จ่ายได้ จำนวนร้อยละ 200 ของรายจ่ายค่าลงทะเบียน
เนื่องจากสรอ. เข้าลักษณะเป็นสถานฝึกอบรมวิชาชีพที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
(อ้างอิงจากเว็บไซต์ กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/publish/28631.0.html)

เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรฐาน

“IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เพื่อสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงหายนะจากสภาพภูมิอากาศได้ ไอเอสโอจึงได้จัดทำแนวทาง Net Zero หรือข้อตกลงหลักเกณฑ์สุทธิเป็นศูนย์ (IWA 42, Net zero guidelines) เพื่อเป็นเครื่องมือหรือแนวทางที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำไปใช้จัดการกับอุปสรรคสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดและสมดุล

ตอบโจทย์การจัดการนวัตกรรมได้ด้วย ISO 56002

มาตรฐาน ISO 56002, Innovation management – Innovation management system – Guidance เป็นมาตรฐานที่ให้แนวทางปฏิบัติเพื่อให้องค์กรทุกประเภทสามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการจัดทำ รักษา และพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนาและก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมจนกระทั่งประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และรูปแบบธุรกิจใหม่

ต่อยอดระบบคุณภาพด้วย ISO 30401 เพิ่มคุณค่าให้องค์กร

องค์กรที่มีการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001 แล้ว สามารถต่อยอดและเพิ่มคุณค่าให้องค์กรได้ด้วยการนำมาตรฐาน ISO 30401 ไปใช้ตามหลักการระบบดังกล่าวเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาระบบที่สนับสนุนการสร้างคุณค่าผ่านความรู้โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีเครื่องมือวัดผลคือตัวชี้วัดที่จะประเมินประสิทธิภาพของระบบได้เป็นอย่างดี

มาตรฐานไอเอสโอสร้างความเชื่อมั่นให้คุณภาพการศึกษา

องค์กรการศึกษา สถาบันการศึกษา หรือผู้ให้บริการฝึกอบรม สามารถนำมาตรฐานไอเอสโอเกี่ยวกับการศึกษาไปใช้งานช่วยเป็นกลไกในการควบคุมคุณภาพ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ISO 13485 สร้างความเชื่อมั่นในอุปกรณ์ทางการแพทย์

การนำแนวทางกระบวนการที่ระบุไว้ในมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ไปใช้จะทำให้มีโอกาสในการปรับปรุงได้ง่ายขึ้นโดยสามารถระบุและกำจัดของเสียภายในและระหว่างกระบวนการ ลดข้อผิดพลาดลง และหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น

พัฒนาศักยภาพ Call Center ด้วยมาตรฐาน ISO 18295

บริษัทและองค์กรที่สนใจนำมาตรฐาน ISO 18295-1 และ ISO 18295-2 ไปใช้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากข้อร้องเรียนและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า สามารถศึกษามาตรฐานทั้งสองฉบับและนำไปใช้ในองค์กรเพื่อขอรับการรับรองเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทและองค์กรได้

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

MASCI ร่วมยินดี OR ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน 4 ระบบ

นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ร่วมแสดงความยินดีกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด มหาชน (OR) ในโอกาสได้รับการรับรองระบบการจัดการจาก MASCI 4 ระบบ ได้แก่  ระบบบริหารงานคุณภาพ มอก. 9001-2559 (ISO 9001:2015)  ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก. 14001-2559 (ISO 14001:2015) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 45001-2561 (ISO 45001:2018) และระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301:2019 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กรุงเทพฯ OR โดยนายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้เกียรติเป็นผู้แทนรับมอบใบรับรองระบบการจัดการดังกล่าว ซึ่งการได้รับการรับรองทั้ง 4 มาตรฐาน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในการพัฒนาระบบบริหารจัดการของ OR ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม โดยให้ความสำคัญต่อการบริหารงานคุณภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย รวมถึงการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรในการเป็นผู้นำด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ MASCI ขอแสดงความยินดีและภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาและบูรณาการมาตรฐานระบบการจัดการ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการของ OR ให้สามารถตอบสนองต่อความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และสร้างความเชื่อมั่นในระบบนิเวศธุรกิจให้สอดรับกับเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องสู่การเติบโตที่ยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

ด่วน! DPIM หนุนเหมืองแร่รักษ์โลก รับสมัครอุตสาหกรรมเหมืองแร่เข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ปี 2567

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร./DPIM)  เปิดตัว “โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM)” ประจำปี 2567  และจัดให้มีพิธีมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรเชิดชูผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ที่เข้าร่วมโครงการและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CSR-DPIM ประจำปี 2566  พร้อมทั้งการสัมมนาและรับสมัครเข้าร่วมโครงการ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซนจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ กพร. ได้มอบหมายให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ./MASCI) ดำเนินโครงการ CSR-DPIM ประจำปี 2567 และพิธีมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ โดยได้รับเกียรติจาก นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดี กพร. เป็นประธาน และมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ที่ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตร CSR-DPIM ประจำปี 2566 รวม 5 ประเภทรางวัลตามเกณฑ์การดำเนินงานมาตรฐาน CSR-DPIM ในระดับ Gold  ระดับ Silver ระดับ Platinum  สถานประกอบการที่เป็นสมาชิก CSR-DPIM Network ซึ่งผ่านเกณฑ์ประเมินมากกว่า 80% และรางวัลบุคลากรดีเด่นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม CSR-DPIM (One Mine One Person: OMOP) รวมทั้งสิ้น 108 รางวัล กพร. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลกลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานมีความตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าวซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย และอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงได้ดำเนินโครงการ CSR-DPIM มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่สามารถประกอบกิจการโดยอยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โดยมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามมาตรฐาน CSR-DPIM จำนวน 153 แห่ง และมีการจัดตั้งเครือข่าย CSR-DPIM ตั้งแต่ปี 2555 ทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชนโดยรอบสถานประกอบการ การขยายผลการดำเนินงานร่วมกับชุมชน ตลอดจนสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ที่เข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ในปี 2567 จะได้เรียนรู้และพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่  และเมื่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่มีผลการทวนสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับรางวัล CSR-DPIM ปี 2567 จาก DPIM และสามารถเตรียมความพร้อมเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานสากล ISO 26000 แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สามารถศึกษารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของ MASCI  https://shorturl.at/kMxLt หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดโครงการฯ ได้ที่คุณนภาวรรณ ดีปานแก้ว โทรศัพท์ 0-2617-1727 ต่อ 206 E-mail: naphawan@masci.or.th  ปิดรับสมัครภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI ร่วมกิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ได้เข้าร่วมกิจกรรม “ทำความดีด้วยหัวใจเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ของกระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดย ดร. ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา  รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารและบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่าย เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ขอบคุณภาพจากกระทรวงอุตสาหกรรม กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสานต่อพระราชปณิธาน ทำความดีถวายพระราชกุศล โดยจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตและพิธีมอบกล้าต้นรวงผึ้งและต้นดาวเรืองให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่าย พร้อมนำต้นรวงผึ้งที่ได้รับมอบจากนายกรัฐมนตรี มาปลูกไว้บริเวณลานองค์พระนารายณ์ในพื้นที่กระทรวง ซึ่งสอดรับกับโครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในภาคอุตสาหกรรม ขอบคุณภาพจากกระทรวงอุตสาหกรรม ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI ร่วมรับฟังนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาส ADB เข้าพบ เพื่อหารือความร่วมมือสนับสนุน SMEs ไทยปรับตัวสู่การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนายสก็อตต์ มอร์ริส รองประธานฝ่ายกำกับดูแลกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) พร้อมคณะ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่าง ADB กับประเทศไทย รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยให้ดำเนินธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม อก.1 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม    รวมทั้งผู้บริหารสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ได้เข้าร่วมรับฟังนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs สู่ความยั่งยืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวถึงนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างและสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้มแข็งและให้มีผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ที่สูงขึ้น ผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวและประกอบอาชีพใหม่ภายใต้กติกาสากลได้อย่างยั่งยืน และส่งต่อสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไป โดยกระทรวงฯ ยินดีรับคำแนะนำและข้อเสนอแนะจาก ADB และร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ SME D Bank และสถาบันเครือข่าย รวมถึง MASCI เพื่อดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ขอขอบคุณภาพจากกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหาร ADB กล่าวถึงความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมว่า ADB ในฐานะธนาคารเพื่อการรับมือกับสภาพภูมิอากาศ (Climate Bank) สําหรับเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งมีประสบการณ์ในการก่อตั้ง Green Finance Facility ยินดีให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทางเทคนิค และเงินกู้สีเขียว เพื่อส่งเสริม SMEs ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Bio-Circular-Green (BCG) ของรัฐบาลไทย โดยจะร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานพันธมิตรในการจัดทำ Action Plan ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า เพื่อเดินหน้าในเรื่องดังกล่าว โดย MASCI ในฐานะหน่วยทวนสอบด้านความยั่งยืน จะมีส่วนร่วมในการจัดทำ Action Plan รวมถึงการพิจารณาโครงการเงินกู้สีเขียว และการติดตามผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ขอขอบคุณภาพจากกระทรวงอุตสาหกรรม MASCI จะร่วมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การกำหนดกรอบการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ตามกรอบ “Driving Green Transformation for Thai SMEs”  การตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) ของโครงการด้านความยั่งยืน  และทวนสอบ (Verification) การดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนของผู้ประกอบการที่ได้รับสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) โดย MASCI มีความเชี่ยวชาญในการทวนสอบด้านความยั่งยืน รวมถึงด้านก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI ร่วมยินดี AR Group ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการศูนย์ติดต่อลูกค้า ISO 18295-1 และเกียรติบัตร Call Center ดีเด่น

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ร่วมแสดงความยินดีกับ บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด (AR Group) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการศูนย์ติดต่อลูกค้า (Customer Contact Centres) ISO 18295-1: 2017 และเกียรติบัตรศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค (Call Center) ระดับดีเด่น เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ณ อาคาร เอ็มเอส สยาม กรุงเทพฯ นายศรัณย์  รักษ์เผ่า ผู้อำนวยการสำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  มอบเกียรติบัตรศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค (Call Center) ระดับดีเด่น และนายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ มอบใบรับรองมาตรฐานระบบการจัดการศูนย์ติดต่อลูกค้า (Customer Contact Centres) ISO 18295-1: 2017 ขอบข่าย “งานบริการ Contact Center และ Contact Center Provided” ให้บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ชฯ โดยนายแจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ ประธานบริษัทฯ และนายดนัย แสงดีจริง ผู้จัดการทั่วไป ให้เกียรติเข้ารับมอบเกียรติบัตรและใบรับรองดังกล่าว ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือในการบูรณาการการตรวจประเมินและรับรองตามมาตรฐาน ISO 18295-1: 2017 กับการประเมินตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค (Call Center) ระดับดีเด่นของ สคบ. MASCI ขอแสดงความยินดีและภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพและการดำเนินระบบการบริหารจัดการของศูนย์บริการลูกค้า AR group หรือ Aconnect ให้มีการพัฒนาและยกระดับงานบริการที่ครอบคลุมทั้งในเรื่องของการออกแบบกระบวนการให้บริการ การจัดเก็บและรักษาข้อมูล การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าด้วยระบบการจัดการข้อมูลองค์ความรู้ที่สะดวกและรวดเร็ว  รวมถึงการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในการบริการลูกค้าอย่างใส่ใจและมีการสร้างมาตรฐานในการบริการ เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ ที่มีการพัฒนาอย่างหลากหลาย โดยมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการเพื่อตอบสนองและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเป็นระบบ ทันสมัย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36

MASCI จัดสัมมนาหนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) จัดสัมมนาเรื่อง “เจาะลึกมาตรฐานไอเอสโอสู่การจัดการโรงงานสีเขียว” (In-depth ISO Standards towards Green Factory Management) และเรื่อง “อุตสาหกรรมยั่งยืน  มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์” (Sustainable Industries: Transformation towards Net-Zero)  ในงาน Manufacturing Expo 2024  เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งตอบโจทย์นโยบาย BCG ของกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค การสัมมนาเรื่อง   “เจาะลึกมาตรฐานไอเอสโอสู่การจัดการโรงงานสีเขียว” ได้รับเกียรติจากวิทยากร 4 ท่าน  ได้แก่  นางสาว ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน  กรมโรงงานอุตสาหกรรม  นางสาวหทัยรัตน์ ฤกษ์อุดมสิน ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด นายภูวนัย ธรรมสถิตย์ ผู้จัดการแผนกอาวุโส แผนกบริการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน MASCI และนางสาวชลธิชา ชาญยุทธโยธิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน MASCI  ซึ่งกล่าวถึงแนวทางการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมสีเขียวทั้ง 5 ระดับ (Green Industry: GI1 – GI5) ตามเกณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรฐานไอเอสโอที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ซึ่งภาคอุตสาหกรรมสามารถพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ส่วนการสัมมนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยั่งยืน  มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์” ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.ศรุดา ศิริภัทรปรีชา กรรมการบริหารและผู้จัดการฝ่ายพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) นายธีรกุล บุญยงค์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทวนสอบด้านความยั่งยืน MASCI และดำเนินรายการโดยนางสาวณัฐพร จิระสถาวร ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก แผนก Social Excellence ฝ่ายบริการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน MASCI ซึ่งกล่าวถึงกรณีศึกษาการใช้ประโยชน์จากของเสียของบริษัท ฟอร์จูน พาร์ทอินดัสตรีฯ  และสามารถเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและสร้างรายได้ให้แก่บริษัท การจัดการปัญหาภาวะโลกร้อนในประเทศไทย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608  (ค.ศ. 2065) MASCI มีความพร้อมให้บริการฝึกอบรมและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้บริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ตามแนวทางทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) และ ISO 14064-1 และตามแนวทางการตรวจสอบความใช้ได้ และทวนสอบระดับโครงการ (T-VER) และ ISO 14064-2 ทั้งนี้ MASCI มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งองค์กรทั่วไปนำแนวคิด มาตรฐาน และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร และมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งตอบสนองแนวนโยบาย BCG ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมต่อไป ติดต่อสอบถามบริการ 💻Website: www.masci.or.th 📱Facebook : https://www.facebook.com/MASCIThailand 📲Line ID: @mascithailand ✉️Mail: salemasci@masci.or.th ☎️Tel: 02-6171727-36  

กิจกรรมจากพันธมิตร