ไอเอสโอร่วมต่อสู้กับมหันตภัยภาวะโลกร้อน

2.-HOW--ISO--CONTINUOUSLY-TAKES--CLIMATE--ACTIONS_

ชีลา เล็กเก็ตต์ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของประเทศแคนาดา และเป็นผู้นำด้านมาตรฐานเพื่อความยั่งยืน ได้กล่าวไว้ว่า โลกของเรายังมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากไอเอสโอได้ก้าวไปสู่บนเส้นทางที่ถูกต้องของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศแล้ว

ชีลา เล็กเก็ตต์ จะมาแบ่งปันประสบการณ์ว่าเรื่องของความยั่งยืนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจากการที่ได้เข้าไปรับผิดชอบงานในด้านนี้ รวมทั้งบทบาทของไอเอสโอในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ชีลา เล็กเก็ตต์ ได้ก้าวเข้าไปสู่การทำงานที่เป็นหัวใจของมาตรฐานและนโยบายด้านความยั่งยืน เธอมองว่ามันเป็นการอภิปรายที่เปลี่ยนจากการสังเกตเชิงรับ เช่น การประเมินความสำคัญของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างฝนกรด มาเป็นแนวทางเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น   เธอได้ก้าวเข้ามาทำงานที่ไอเอสโอจากอาชีพด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม และการบริการสาธารณะด้วย และในฐานะผู้ควบคุมกับคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติของแคนาดาเมื่อช่วงต้นปี 2553 (ค.ศ.2010) ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมที่ทำการพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ก็ได้พบว่ามีการพิจารณาประเด็นต่างๆ ดังกล่าวและมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง  เธอเริ่มชื่นชอบเรื่องของมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

สำหรับชีลา เล็กเก็ตต์แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องไม่ละเลยเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและใช้ความพยายามไปกับเรื่องของความยั่งยืน  เธอกล่าวว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ได้มุ่งเน้นที่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องราวและแง่มุมอื่นๆ ทางสังคมอีกด้วย  โดยมีการสะท้อนถึงทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงภายในไอเอสโอและสังคมในวงกว้างมากขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความคิดที่กว้างขวางขึ้น

ปัจจุบัน ชีลา เล็กเก็ตต์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อมของไอเอสโอ ISO/TC 207 และเช่นเดียวกับบทบาทในกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแคนาดา  ทำให้มีความพยายามเร่งด่วนในการดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไอเอสโอได้ทุ่มเทให้กับประเด็นปัญหาเหล่านั้นโดยรวมเข้าไว้ในกลยุทธ์ 2030 ซึ่งสร้างขึ้นจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เชื่อมโยงถึงกันขององค์การสหประชาชาติ และเมื่อปี 2564 (ค.ศ.2021) ไอเอสโอได้ประกาศความตั้งใจที่จะร่วมต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปฏิญญาลอนดอนด้วยการผลักดันให้มีการนำมาตรฐานไปใช้งาน

ชีลา เล็กเก็ตต์ กล่าวว่าการที่ไอเอสโอร่วมต่อสู้ที่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปฏิญญาลอนดอนนั้นมีความสำคัญมากซึ่งทำให้โลกรับรู้ว่าไอเอสโอมีบทบาทในเรื่องนี้ และปัจจุบัน  หลายประเทศตกอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัจจัยอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้รู้ว่าจะมีการทำงานร่วมกันได้อย่างไรนอกเหนือจากการมีแพลตฟอร์มที่รวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อใช้งานได้

การทำงานร่วมกันต้องสามารถทำงานร่วมกันได้แบบองค์รวม และมีเรื่องราวที่ผู้คนสามารถเข้าใจได้และมีความเกี่ยวข้องเป็นต้นว่า ถ้าทำลำดับหนึ่ง สอง สามแล้วก็จะอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ภายใต้สถานการณ์เหล่านั้น คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 207 ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะอนุกรรมการการจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อจัดทำกรอบการทำงานที่เชื่อถือได้สำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ

ในมุมมองของชีลา เล็กเก็ตต์  ไอเอสโอมีมาตรฐานทั้งหมดที่จำเป็นในการสนับสนุนวาระสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือหาวิธีจัดกลุ่มมาตรฐานที่ส่งเสริมให้มีการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังมีร่างมาตรฐานใหม่ในสาขานี้ที่ต้องทำทั้งหมดอีกจำนวนหนึ่งด้วย

ชีลา เล็กเก็ตต์ ให้ความเห็นในฐานะคณะกรรมการวิชาการว่า ไอเอสโอมีมาตรฐานที่ยอดเยี่ยมอยู่มากมาย แต่ผู้คนจำนวนมากที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้มาตรฐานเหล่านั้นกลับไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไอเอสโอมีอยู่จริง  ซึ่งจะต้องคิดหาวิธีที่จะทำให้มาตรฐานไอเอสโอมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในแง่ของภาษาที่เรียบง่าย และในแง่ของการแสดงประโยชน์ของการใช้มาตรฐาน ซึ่งต้องทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่าย

สำหรับความเร่งด่วนของการดำเนินการด้านสภาพอากาศถือเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาล บริษัท รวมทั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ชีลา เล็กเก็ตต์ มีความภาคภูมิใจในความรวดเร็วและทักษะที่คณะกรรมการวิชาการฯ สามารถทำได้ในการพัฒนามาตรฐานสำหรับการปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชีลา เล็กเก็ตต์ ยอมรับว่าเคยมีความกังวลจนนอนไม่หลับเพราะกลัวว่างานของไอเอสโอจะมีปัญหาที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้เพราะไม่สามารถตอบสนองได้เร็วพอ หรือไม่สามารถก้าวตามทันโลก แต่ว่าตอนนี้เธอมั่นใจแล้วว่าไอเอสโอกำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องอย่างทันการณ์ และยังคงเกี่ยวข้องกับความพยายามด้านความยั่งยืนด้วย

ชีลา เล็กเก็ตต์ ได้เล่าถึงความเป็นมาของไอเอสโอซึ่งถือกำเนิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อสร้างกรอบการทำงานสำหรับการค้าระหว่างประเทศ และยังคงมีบทบาทในการรวมกลุ่มกันอย่างเงียบๆ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่ากรอบการทำงานของไอเอสโอยังคงแข็งแกร่งอยู่ เพราะเราจะไม่สามารถสร้างไอเอสโอขึ้นมาใหม่ได้  ไอเอสโอได้ใช้เวลาหลายปีในการก่อตั้งมาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะต้องดำเนินงานต่อไปอย่างเข้มแข็งให้สามารถบรรลุเป้าหมายเพื่อคนทั่วโลกให้ได้ซึ่งหมายความว่าไอเอสโอจะยังคงต่อสู้กับมหันตภัยภาวะโลกร้อนร่วมกับผู้คนทั่วโลกต่อไปให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030)

ที่มา:  https://www.iso.org/contents/news/2022/07/climate-expert-hopeful.html