11 ธันวาคม วันแห่งการรำลึกถึงวัฒนธรรมชาวเขา International Mountain Day

inter-mout

องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 11 ธันวาคมของทุกปี ตรงกับ “วันภูเขาสากล” (International Mountain Day) ในปีนี้ การเฉลิมฉลองวันภูเขาสากล จัดทำขึ้นเพื่อให้ความสำคัญกับประเพณีและวัฒนธรรมของชาวเขาทั่วโลกจะปรากฎในชุมชนแบบดั้งเดิมซึ่งมีธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในการแสวงบุญ พิธีการและการบูชาทางศาสนา

แนวคิดเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม ธรรมเนียมประเพณี และเรื่องราวของจิตวิญญาณ ยังคงเชื่อมโยงวิถีชีวิตของชาวเขาให้ดำรงอยู่

ภูเขานับว่าเป็นแหล่งของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดการผลิดออกออกผลรวมทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำซึ่งได้รับความเคารพว่าเป็นบ้านของเทพเจ้านับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ในช่วงเวลาที่แห้งแล้ง ชาวคิคูยูในประเทศเคนยาต้องเผชิญกับความอดอยากแห้งแล้งและต้องร้องขอฝนจากเทพเจ้าไง ส่วนชาวอินคาในประเทศเปรูมีการสร้างวัดบนยอดเขาที่สูงที่สุดเหนือยอดเขาอินดีสมากกว่า 6,000 เมตร และในประเทศจีน มีหมู่บ้านที่อุทิศวัดของหมู่บ้านให้กับเทพเจ้าแห่งภูเขาท้องถิ่นที่ดูแลเมฆและฝน

สัดส่วนขนาดใหญ่ของชนส่วนน้อยของโลกอาศัยอยู่ในบริเวณภูเขา ในขณะที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยคนจำนวนน้อย แต่ก็มีคนกลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ด้วย เช่น ชาวแคชัวในเทือกเขาแอนดีส และชาวแอมฮาราในเอธิโอเปีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการรังสรรค์ของธรรมชาติที่ทำให้พวกเขาต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและห่างไกลจากผู้คน ได้ช่วยทำให้วัฒนธรรมอันหลากหลายของชาวเขายังคงอยู่และไม่ถูกทำลายไปตามกาลเวลา แต่โชคไม่ดีที่ระบบความเชื่อ คุณค่าที่แตกต่าง ถูกทำลายไปจากการอพยพ การแผ้วถางป่าและภูเขาจนกลายเป็นเมือง รวมทั้งความขัดแย้งต่างๆ

ชาวเขาทั่วโลกได้มีบทบาทสำคัญในการจัดการระบบนิเวศน์ของพวกเขาเอง ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา พวกเขาได้พัฒนาระบบการใช้ดินที่ไม่เหมือนใคร แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ของชาวเขาซึ่งมีความโดดเด่นไม่เหมือนใครและร่ำรวยในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ

ชาวเขาส่วนใหญ่หยั่งรากลึกกับผืนแผ่นดินของตนเองและชุมชนชาวเขาในวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ทำให้สิ่งเหล่านี้นำทางพวกเขาไปใช้ชีวิตและมีกิจกรรมทางการเกษตรและใส่ใจในสิ่งแวดล้อมรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่นที่เทือกเขาแอนดีส พระแม่ธรณีที่ชาวไอมารานับถือจะเป็นประธานในการหว่านพืชผลล้อมรอบภูเขาซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ชาวไอมาราเป็นชาวพื้นเมืองในแถบภูเขาทางตอนใต้ของประเทศเปรู ส่วนมากเป็นแคทอลิก แต่ความเชื่อของพวกเขาคือความเชื่อที่ว่า พวกเขามีความสัมพันธ์อย่างพิเศษกับแผ่นดินซึ่งพวกเขาเรียกว่า ปาชา มามา หรือพระแม่ธรณี พวกเขาเชื่อว่าโลกเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ พวกเขาต้องการติดต่อกับจิตวิญญาณเหล่านั้น และในที่สุดก็ติดต่อกับพระเป็นเจ้า ดังนั้นพิธีการทางศาสนาในการยกย่องแม่พระธรณีจึงเป็นการย้ำถึงความสำคัญระหว่างชุมชนของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และนำมาซึ่งผู้คนจากชนเผ่าที่แตกต่างกันและจากหมู่บ้านต่างๆที่ทำการเกษตร

ยิ่งไปกว่านั้น บริเวณที่ถูกภูเขาปกป้องไว้นับเป็นสถานที่แห่งการปลอบประโลมทางจิตวิญญาณ การสร้างแรงบันดาลใจ การสันทนาการและการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสกี การไต่ภูเขาเพื่อชมวิวกอริลล่าภูเขาในประเทศรวันดาและการเยี่ยมชมโบสถ์หินในประเทศเอธิโอเปีย ภูเขาเป็นแหล่งที่ให้ความบันเทิงต่อนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

จากข้อมูลขององค์การยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ระบุว่า 56% ของพื้นที่สงวนไบโอสเฟียร์ประกอบด้วยระบบนิเวศน์ของภูเขา

นักท่องเที่ยวที่เข้าไปในพื้นที่ของชาวเขาอาจส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและความเป็นชาวเขาได้ซึ่งเป็นทั้งความท้าทายและเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากชาวเขาอาจได้รับผลกระทบจากการบุกรุกทางวัฒนธรรมและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวและมีการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน สามารถลดการอพพยเข้าสู่เมืองและสร้างผลตอบแทนจากการปกป้องดูแลระบบนิเวศของชาวเขาบนภูเขา สินค้าและบริการได้เช่นกัน

ในปีนี้ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วัฒนธรรรมของชาวเขาเป็นหัวข้อหลักเพื่อที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ชุมชนและองค์กรต่างๆ จะได้เฉลิมฉลอง “วันภูเขาสากล” ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวเขาซึ่งควรมีการให้ความสำคัญกับประเพณีและวัฒนธรรมของชาวเขาให้คงอยู่ต่อไป

ที่มา:

1. http://www.un.org/en/events/mountainday/
2.
http://www.thaicath.net/diarybible/cathsuebsiri/blessing/dialog.html