ถอดบทเรียน Covid-19 พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

Vaccines_06

เมื่อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้เราได้มีโอกาสเห็นความเปราะบางในองค์กรและระบบที่เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้ที่เตรียมรับสิ่งที่ไม่คาดฝันมักจะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว  และเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ไอเอสโอได้เผยแพร่บทเรียนที่ได้รับจากการระบาดใหญ่โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญระดับระหว่างประเทศ พวกเขาได้นำประสบการณ์ แนวคิด และกรอบการดำเนินงานอย่างเป็นระบบที่ได้เรียนรู้จากการฟื้นฟูและกลับเข้าสู่การดำเนินธุรกิจอีกครั้งจากการระบาดใหญ่ในครั้งนี้ซึ่งทำให้สามารถสร้างการปรับตัวหรือความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี

ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการระบาดใหญ่แล้วนำมาพัฒนาเป็นเอกสารทางวิชาการที่มีชื่อว่า ISO/TS 22393, Security and resilience – Community resilience – Guidelines for planning recovery and renewal

เอกสารข้อกำหนดทางวิชาการ ISO/TS 22393 ได้ให้แนวทางในการพัฒนาแผนการกู้คืนและกลยุทธ์การทำให้เกิดการดำเนินงานขึ้นมาใหม่ (renewal) จากเหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ หรือวิกฤตที่สำคัญ เช่น การระบาดใหญ่ของ COVID-19  โดยให้แนวทางในการระบุกิจกรรมการทำธุรกรรมระยะสั้นที่จำเป็นในการสะท้อนและเรียนรู้ ทบทวนความพร้อมของส่วนต่างๆ ของระบบที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต และการกลับคืนสู่สถานะการดำเนินงานเพื่อสร้างการเตรียมพร้อม นอกจากนี้ ยังแยกแยะมุมมองการกู้คืนระยะยาวที่เรียกว่าการกลับเข้าสู่การดำเนินงานอีกครั้ง (Renewal)

ในการอธิบายเรื่อง Renewal  เอกสารดังกล่าวได้ให้แนวทางในการระบุความคิดริเริ่มที่มีวิสัยทัศน์เพื่อจัดการกับผลกระทบเชิงกลยุทธ์และโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขผ่านการริเริ่มที่เปลี่ยนแปลงและท้าทาย แผนฟื้นฟูช่วยเสริมความพร้อมหลังวิกฤตและกลยุทธ์การ Renewal ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น แนวทางนี้ครอบคลุมถึงวิธีการทั้งในการกู้คืนและการกลับเข้าสู่การดำเนินงานอีกครั้ง ซึ่งจำเป็นต้องระบุกิจกรรมที่ปรับขนาดให้เข้ากับผู้คน สถานที่ กระบวนการ และพันธมิตร เป็นต้น

เอกสารนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูและการกลับเข้าสู่การดำเนินงานอีกครั้งของชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ รวมถึงเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ เอกชน ภาคสมัครใจ ชุมชนและกิจการเพื่อสังคม เป็นต้น

ดันแคน ชอว์ หัวหน้าโครงการของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนาเอกสารดังกล่าวระบุว่า เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นมาแล้ว องค์กรส่วนใหญ่เพียงต้องการกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด แต่การทำเช่นนี้อาจทำให้พลาดโอกาสอันมีค่า

เนื่องจากการหยุดชะงักครั้งใหญ่อาจเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่สำคัญบางอย่าง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ

การฟื้นฟูเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น การกลับเข้าสู่การดำเนินงานอีกครั้ง ทำให้มีการสร้างความสัมพันธ์ ในขณะที่ข้อบกพร่องและจุดอ่อนรวมทั้งความไม่เท่าเทียมกันต่างๆ ก็ได้รับการแก้ไข สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับการปรับรูปแบบการดำเนินการเพื่อสร้างการปรับตัวหรือความยืดหยุ่นในระยะยาว

ดันแคนยังกล่าวด้วยว่าแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูและ ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนแรกๆ ของการระบาดใหญ่ และการพัฒนาเกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์และการหารือกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก ผลลัพธ์ที่ได้คือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากลโดยใช้ประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนองค์กรระดับท้องถิ่นและระดับประเทศในการจัดการกับ COVID-19 ซึ่งช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในกรอบความคิดจากเพียงแค่การกู้คืนให้กลายเป็นการกู้คืนและกลับเข้าสู่การดำเนินธุรกิจอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในองค์กรหรือชุมชนที่มีการใช้งานมาตรฐานนี้

ISO/TS 22393 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 292, Security and resilience โดยมีเลขานุการคือ SIS ซึ่งเป็นสมาชิกของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน

ผู้สนใจเอกสารทางวิชาการดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือส่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2714.html