อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

มาตรฐานความยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน กำลังได้รับการพัฒนาในระดับประเทศและระดับโลกโดยองค์กรต่างๆ รวมถึงไอเอสโอผ่านคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 323, Circular Economy ซึ่งดำเนินการเพื่อมาตรฐานการออกแบบเชิงนิเวศที่คำนึงถึงการบริโภควัสดุที่ยั่งยืน พลังงานและทรัพยากรอื่นๆ ในทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนา

ISO 28000 ช่วยลดความเสี่ยงตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

มาตรฐาน ISO 28000 สามารถนำไปใช้เป็นกรอบการทำงานโดยเป็นวิธีปฏิบัติในการลดความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สามารถบรรเทาความเสี่ยงและจัดการความมั่นคงปลอดภัยได้เป็นอย่างดี สามารถปกป้องบุคลากร สินค้า โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ รวมทั้งการขนส่ง การป้องกันอุบัติเหตุ และการป้องกันผลกระทบที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น โดยสามารถใช้ได้ตลอดทั้งวัฏจักรขององค์กรในกิจกรรมใดก็ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรในทุกระดับ

สร้างอนาคตด้วยการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

โดยทั่วไป เมื่อนึกถึงเรื่องของความยั่งยืน การจัดซื้ออาจไม่ใช่สิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ห่วงโซ่อุปทานของบริษัท (หรือองค์กร) มีบทบาทอย่างมากในการพิจารณาว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความยั่งยืนเพียงใด ตัวอย่างเช่น รายงานด้านความยั่งยืนของแม็คคินซีย์ระบุว่า ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทด้านการบริโภคทั่วไปมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 80 และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ยังสามารถติดตามผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแนวทางการจัดซื้อได้อีกด้วย