สร้างอนาคตด้วยการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

โดยทั่วไป เมื่อนึกถึงเรื่องของความยั่งยืน การจัดซื้ออาจไม่ใช่สิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ห่วงโซ่อุปทานของบริษัท (หรือองค์กร) มีบทบาทอย่างมากในการพิจารณาว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความยั่งยืนเพียงใด ตัวอย่างเช่น รายงานด้านความยั่งยืนของแม็คคินซีย์ระบุว่า ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทด้านการบริโภคทั่วไปมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 80 และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ยังสามารถติดตามผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแนวทางการจัดซื้อได้อีกด้วย

ISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผล

มาตรฐาน ISO 41001 เป็นมาตรฐานที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ทีมบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยให้ความสำคัญกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากลซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยการเปรียบเทียบเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนในด้านกลยุทธ์ ยุทธวิธี และการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมีประสิทธิผล

ภาวะโลกร้อนกับไวรัสโคโรน่า

ปัจจุบัน ผลกระทบของโรคระบาดไวรัสโคโรน่ายังคงเกิดขึ้นเป็นระลอกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศจีน ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า และประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตลอดจนส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ ด้วย

GRI กับการเปิดเผยข้อมูล ESG

เพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสนับสนุน SDG 6 ผู้เขียนจึงขอนำเสนอแนวทางการรายงานข้อมูลความยั่งยืนขององค์กรด้านน้ำ หนึ่งในตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานการจัดทำรายงาน Global Reporting Initiative (GRI) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ภาพรวมการใช้น้ำขององค์กร และวิธีการบริหารจัดการน้ำ

ISO 14007 ช่วยประเมินคุณค่าของการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

องค์กรจำเป็นต้องรู้ว่าตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและกลยุทธ์ใดที่ช่วยในเชิงเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่น การประเมินทรัพยากรธรรมชาติและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นทั้งเรื่องทางกลยุทธ์และกลวิธีที่สำคัญในโครงการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งมาตรฐาน ISO 14007 สามารถช่วยองค์กรได้ในเรื่องนี้

ทำไมต้องจัดซื้ออย่างยั่งยืน

มาตรฐานอาหารที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งภาคการเกษตรด้วย ทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากแนวทางและวิธีปฏิบัติของมาตรฐานไอเอสโอนับตั้งแต่การเพาะปลูก ไปจนถึงการผลิตและการบรรจุหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการตอบสนองต่อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ และทำให้เกิดความปลอดภัยและความยั่งยืน ซึ่งสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาของโลกในด้านโภชนาการและการยุติความหิวโหยได้

ไอเอสโอห่วงใยโลกขาดแคลนน้ำ แนะให้ใช้มาตรฐานน้ำใช้ซ้ำ

ในการเฉลิมฉลองวันสากลแห่งน้ำซึ่งตรงกับวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจในเรื่องความสำคัญของน้ำดิบ ซึ่งในปีนี้ให้ความสำคัญในหัวข้อ “ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” และเหมาะสมกับการปรับใช้ในวาระ 2030 ซึ่งมีวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับคนทั่วโลก และเป็นโรดแม็ปขององค์การสหประชาชาติที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่สิ่งที่ดีกว่าภายในปี 2573 ซึ่งรวมถึงการอุทิศให้กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 6 (SDG 6) ในเรื่องน้ำ ซึ่งไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำไปแล้วกว่า 1,400 ฉบับ

ISO 38200 ช่วยสอบกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากไม้

ISO 37101 เป็นส่วนหนึ่งของชุดมาตรฐานที่อุทิศให้กับเมืองที่ต้องการพิสูจน์อนาคตที่ต้องการความยั่งยืนและยืดหยุ่น ซึ่งมาตรฐานนี้มีส่วนทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ในข้อที่ 11 คือเมืองและชุมชนที่มีความยั่งยืน ซึ่งต้องการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ “วันสากลแห่งเมือง” ในปีนี้ด้วย

ก้าวสู่อนาคตของเมืองที่ยั่งยืน

ISO 37101 เป็นส่วนหนึ่งของชุดมาตรฐานที่อุทิศให้กับเมืองที่ต้องการพิสูจน์อนาคตที่ต้องการความยั่งยืนและยืดหยุ่น ซึ่งมาตรฐานนี้มีส่วนทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ในข้อที่ 11 คือเมืองและชุมชนที่มีความยั่งยืน ซึ่งต้องการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ “วันสากลแห่งเมือง” ในปีนี้ด้วย

คู่มือจัดการการใช้น้ำสำหรับ SMEs

ไอเอสโอได้ร่วมกับศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Center: ITC) ทำการพัฒนาคู่มือไอเอสโอขึ้นมาใหม่ คือ ISO 14046 Environmental Management – Water footprint – A practical guide for SMEs เพื่อช่วยให้องค์กรทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs มีความเข้าใจในมาตรฐานได้ดีขึ้นและได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวางมากขึ้น