องค์กรก้าวไกลด้วยมาตรฐานสากล

การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น

ISO 21378: 2019 ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดการระบบงานองค์กร

ล่าสุด ไอเอสโอพัฒนามาตรฐาน ISO 21378: 2019, Audit data collection ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้ตรวจประเมินมีการเข้าถึงและถอดรหัสข้อมูลการตรวจประเมินด้วยมาตรฐานกระบวนการระบุ จำแนก และรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลการตรวจประเมินทำได้ง่าย โปร่งใส และไม่ทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งจะทำให้ผู้ตรวจประเมินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

มาตรฐานสากลเพื่ออาหารปลอดภัย

มาตรฐานล่าสุดที่ไอเอสโอได้ตีพิมพ์เผยแพร่ คือ ISO/TS 22002-5, Prerequisite programmes on food safety – Part 5: Transport and storage ซึ่งมีโครงสร้างข้อกำหนดเกี่ยวกับ PRPs สำหรับการขนส่งและการจัดเก็บในห่วงโซ่อาหาร

มาตรฐานไอเอสโอช่วยยกระดับการท่องเที่ยวสากล

พาลัด ซิงห์ พาเทล รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันท่องเที่ยวโลกกล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคส่วนชั้นนำที่มีการจ้างงานถึง 10% ของการจ้างงานทั่วโลก และการพัฒนาการท่องเที่ยวมีส่วนเชื่อมโยงโดยตรงต่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรฐานหลายมาตรฐานของไอเอสโอมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โลกมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างงานที่ดี มีคุณค่ามากขึ้นด้วย

ไอเอสโอช่วยรัฐบาลท้องถิ่นมีแนวทางการใช้งาน ISO 9001

ISO 18091, Quality management systems – Guidelines for the application of ISO 9001 in local government เป็นมาตรฐานที่จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพราะมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้มีอำนาจดำเนินการในระดับท้องถิ่นสามารถรักษาระดับบริการที่ดีไว้ให้ได้และยังปรับปรุงในเรื่องความยั่งยืนด้วยซึ่งมีการปรับปรุงรูปแบบและเครื่องมือเชิงวินิจฉัยสำหรับการนำระบบการจัดการคุณภาพไปใช้อย่างครอบคลุมซึ่งจะมีส่วนทำให้เกิดความเชื่อถือและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ในระดับท้องถิ่น

ไอเอสโอห่วงใยโลกขาดแคลนน้ำ แนะให้ใช้มาตรฐานน้ำใช้ซ้ำ

ในการเฉลิมฉลองวันสากลแห่งน้ำซึ่งตรงกับวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจในเรื่องความสำคัญของน้ำดิบ ซึ่งในปีนี้ให้ความสำคัญในหัวข้อ “ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” และเหมาะสมกับการปรับใช้ในวาระ 2030 ซึ่งมีวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับคนทั่วโลก และเป็นโรดแม็ปขององค์การสหประชาชาติที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่สิ่งที่ดีกว่าภายในปี 2573 ซึ่งรวมถึงการอุทิศให้กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 6 (SDG 6) ในเรื่องน้ำ ซึ่งไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำไปแล้วกว่า 1,400 ฉบับ

ชีวิตสวยงามด้วย “มาตรฐานไอเอสโอ” ที่ทุกคนเข้าถึงได้

ด้วยความร่วมมือระหว่างไออีซี ไอทียูและไอเอสโอ จึงมีการพัฒนามาตรฐาน ISO/IEC Guide 71, Guide for addressing accessibility in standards ขึ้นมาซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการช่วยให้ผู้พัฒนามาตรฐานมีการพิจารณาถึงประเด็นด้านการเข้าถึง (accessibility) ของคนทุกประเภทเมื่อทำการพัฒนาหรือทบทวนมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่เคยมีการพิจารณาในเรื่องนี้มาก่อน

ไอเอสโอกับวันอาหารโลก

สำหรับไอเอสโอ มีมาตรฐานสากลในภาคส่วนการผลิตอาหารมากกว่า 1600 มาตรฐานที่ช่วยให้สามารถยุติความหิวโหยของโลกได้ด้วยการสร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหาร ปรับปรุงวิธีการด้านเกษตรกรรม และส่งเสริมการจัดซื้ออย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน ซึ่งรวมถึงมาตรฐานอีกประมาณ 850 มาตรฐานจากคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34 – Food products ซึ่งครอบคลุมทุกเรือ่งนับตั้งแต่สวัสดิภาพสัตว์ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ธัญพืชและนม และการทดสอบส่วนผสม เป็นต้น

มาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวรักษ์โลก

จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization) แห่งองค์การสหประชาชาติ ปีที่แล้ว นักท่องเที่ยว 1.2 พันล้านคนได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้รับผิดชอบในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.8 พันล้านคนภายในปี 2573 (ค.ศ.2030)

ไอเอสโอทบทวน ISO/IEC 17025

มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่างไอเอสโอและไออีซีในคณะกรรมการการประเมินความสอดคล้องที่เรียกว่า CASCO (Committee on conformity assessment) และมาตรฐานนี้จะใช้แทนฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งคาดว่ามาตรฐานฉบับที่พัฒนานี้จะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้