มาตรฐานสากลที่ส่งเสริมผู้สูงวัยใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ตอนที่ 2

สิ่งที่ไอเอสโอดำเนินการอยู่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงวิกฤตที่เกิดขึ้นกับสังคมสูงวัย แต่เป็นการเปลี่ยนวิธีการคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่มีมาหลายชั่วอายุคนเพื่อสนับสนุนคนทุกรุ่นทุกวัยให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี เมื่อเราทำลายสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่าง ๆ ลงได้แล้ว เราก็จะสามารถเปลี่ยนชุมชนของเราให้เป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตและก้าวสู่การเป็นผู้สูงอายุได้อย่างสง่างาม เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อทั้งตนเอง ชุมชนและสังคมต่อไป

มาตรฐานสากลที่ส่งเสริมผู้สูงวัยใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ตอนที่ 1

การต่อสู้ในยุคที่มีสังคมสูงวัยมากขึ้นทั่วโลกมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโลกที่เท่าเทียมกันมากขึ้น สิทธิและศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องต่อผู้สูงวัยจำเป็นต้องได้รับการเยียวยา ด้วยเหตุนี้เอง ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานพร้อมแนวทางแก้ไขเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC314, Aging Societies ซึ่งแร ดูลมาจ หนึ่งในผู้ร่วมประชุมของคณะกรรมการด้านเทคนิค เชื่อมั่นว่าระบบสุขภาพและการดูแลระยะยาวจะต้องสอดคล้องกันเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมสูงอายุได้

ISO 3166 รหัสสากลเพื่อความชัดเจนและป้องกันความผิดพลาด

ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 3166 ขึ้นโดยกำหนดรหัสที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข ซึ่งเป็นตัวระบุสั้นๆ ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับประเทศต่าง ดินแดนในภาวะพึ่งพิง (Dependent territory) และพื้นที่พิเศษที่น่าสนใจทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเช่น อิตาลีใช้ตัวย่อว่า IT, ITA และ 380 ในขณะที่ญี่ปุ่นคือ JP, JPN และ 392 แนวคิดนี้คือการเป็นตัวแทนของประเทศต่างๆ ในรูปแบบที่สะดวกและคลุมเครือน้อยกว่าชื่อเต็ม

ทักษะแรงงานที่ต้องมีสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว

ปัจจุบันนี้ LinkedIn ได้รายงานเมื่อเปรียบเทียบทักษะสีเขียวที่สำคัญที่สุดสำหรับนายจ้างกับทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้สมัครแล้ว พบว่าตรงกันเพียง 50% เท่านั้น แต่มาตรฐานที่ใช้ร่วมกันสามารถช่วยลดช่องว่างระหว่างทักษะที่จำเป็นและทักษะที่มีอยู่ และทำให้การเปลี่ยนแปลงสีเขียวประสบความสำเร็จสำหรับทุกคนได้

ไอเอสโอแนะมาตรฐานสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ให้องค์กร

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น เรามีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้นต่อผู้คน องค์กร บริการ และระบบ เมื่อเทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างซับซ้อน อาชญากรไซเบอร์ก็เก่งกาจมากขึ้นเช่นกัน ความไม่แน่นอนเหล่านั้นมีอยู่มากมาย การสร้างความไว้วางใจในความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงควรอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งในการสร้างความมั่นใจว่าระบบขององค์กรจะมีความมั่นคงปลอดภัย ไอเอสโอได้นำมาพิจารณาจัดทำอยู่ในข้อกำหนดสำหรับมาตรฐานสากล 2 ฉบับอย่างครอบคลุม ได้แก่ ISO/IEC 15408 และ ISO/IEC 18045

มาตรฐานที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน

ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงประเด็นความยั่งยืนยั่งยืน โดยองค์กรสามารถบูรณาการตามแนวทางด้านความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินกิจการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ทั่วโลกบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

ISO 28000 ช่วยลดความเสี่ยงตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

มาตรฐาน ISO 28000 สามารถนำไปใช้เป็นกรอบการทำงานโดยเป็นวิธีปฏิบัติในการลดความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สามารถบรรเทาความเสี่ยงและจัดการความมั่นคงปลอดภัยได้เป็นอย่างดี สามารถปกป้องบุคลากร สินค้า โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ รวมทั้งการขนส่ง การป้องกันอุบัติเหตุ และการป้องกันผลกระทบที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น โดยสามารถใช้ได้ตลอดทั้งวัฏจักรขององค์กรในกิจกรรมใดก็ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรในทุกระดับ

มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารด้วยมาตรฐาน ISO 22000

สำหรับมาตรฐานระบบการจัดความปลอดภัยของอาหารของไอเอสโอ ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและควบคุมอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหารได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถนำไปใช้งานร่วมกับมาตรฐานการจัดการไอเอสโอฉบับอื่นได้ด้วยโดยสามารถนำไปใช้กับผู้ผลิตทุกประเภทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ช่วยให้ผลิตภัณฑ์สามารถส่งข้ามพรมแดนไปยังผู้บริโภคซึ่งทำให้พวกเขาไว้วางใจได้

เสริม EMS ด้วยการออกแบบเชิงนิเวศ “ISO 14006”

การออกแบบและการพัฒนาถือเป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งการออกแบบเชิงนิเวศได้รวมอยู่ในมาตรฐานฉบับนี้แล้ว คือ ISO 14006 – Environmental management systems — Guidelines for incorporating eco-design มาตรฐานฉบับนี้เป็นส่วนเสริมของมาตรฐานชุด ISO 14000 ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำสำหรับองค์กรที่ต้องการรวมการออกแบบเชิงนิเวศเข้ากับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ที่ใช้ ISO 14001 รวมทั้งองค์กรที่ใช้ระบบการจัดการอื่นๆ ก็สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้เช่นกัน

ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานขององค์กรด้วย ISO 50001

หนึ่งในมาตรฐานไอเอสโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้คือ มาตรฐาน ISO 50001 ระบบการจัดการพลังงานซึ่งเมื่อปี 2563 (ค.ศ.2020) มีผู้ได้รับการรับรองทั่วโลกเกือบสองหมื่นราย และสำหรับองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะจัดการกับผลกระทบ การอนุรักษ์ทรัพยากร และปรับปรุงการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ISO 50001 คือคำตอบที่ดี