ต่อยอดระบบคุณภาพด้วย ISO 30401 เพิ่มคุณค่าให้องค์กร

องค์กรที่มีการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001 แล้ว สามารถต่อยอดและเพิ่มคุณค่าให้องค์กรได้ด้วยการนำมาตรฐาน ISO 30401 ไปใช้ตามหลักการระบบดังกล่าวเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาระบบที่สนับสนุนการสร้างคุณค่าผ่านความรู้โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีเครื่องมือวัดผลคือตัวชี้วัดที่จะประเมินประสิทธิภาพของระบบได้เป็นอย่างดี

มาตรฐานไอเอสโอสร้างความเชื่อมั่นให้คุณภาพการศึกษา

องค์กรการศึกษา สถาบันการศึกษา หรือผู้ให้บริการฝึกอบรม สามารถนำมาตรฐานไอเอสโอเกี่ยวกับการศึกษาไปใช้งานช่วยเป็นกลไกในการควบคุมคุณภาพ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ISO 13485 สร้างความเชื่อมั่นในอุปกรณ์ทางการแพทย์

การนำแนวทางกระบวนการที่ระบุไว้ในมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ไปใช้จะทำให้มีโอกาสในการปรับปรุงได้ง่ายขึ้นโดยสามารถระบุและกำจัดของเสียภายในและระหว่างกระบวนการ ลดข้อผิดพลาดลง และหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น

พัฒนาศักยภาพ Call Center ด้วยมาตรฐาน ISO 18295

บริษัทและองค์กรที่สนใจนำมาตรฐาน ISO 18295-1 และ ISO 18295-2 ไปใช้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากข้อร้องเรียนและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า สามารถศึกษามาตรฐานทั้งสองฉบับและนำไปใช้ในองค์กรเพื่อขอรับการรับรองเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทและองค์กรได้

สร้างอนาคตด้วยการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

โดยทั่วไป เมื่อนึกถึงเรื่องของความยั่งยืน การจัดซื้ออาจไม่ใช่สิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ห่วงโซ่อุปทานของบริษัท (หรือองค์กร) มีบทบาทอย่างมากในการพิจารณาว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความยั่งยืนเพียงใด ตัวอย่างเช่น รายงานด้านความยั่งยืนของแม็คคินซีย์ระบุว่า ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทด้านการบริโภคทั่วไปมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 80 และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ยังสามารถติดตามผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแนวทางการจัดซื้อได้อีกด้วย

“เศรษฐกิจแบ่งปัน” ตอบโจทย์ยุคใหม่ ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า

มาตรฐานมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่ารูปแบบธุรกิจใหม่ของเศรษฐกิจแบ่งปันดังกล่าวจะบรรลุตามคำมั่นสัญญาที่มีความยั่งยืนมากขึ้นไปพร้อมๆ กับป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้ปฏิบัติงานในขณะที่การค้าของโลกเราเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลและแนวโน้มอื่นๆ ดังนั้น องค์กรด้านการมาตรฐานจะต้องมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้กำหนดนโยบาย รวมทั้งผู้บริโภคเพื่อช่วยวางรากฐานสำหรับการค้าในอนาคตด้วย

นักดำน้ำ…โลกใต้ทะเล…และมาตรฐานไอเอสโอ

การดำน้ำลึกเป็นความหลงใหลอย่างยิ่งสำหรับนักดำน้ำนับล้านคนทั่วโลก พวกเขาต่างมีความรักในโลกใต้น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดำน้ำที่ขาดการฝึกฝนด้วยความรับผิดชอบ สามารถทิ้งร่องรอยของตัวเองไว้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผจญภัยใต้น้ำ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีการดำน้ำอย่างยั่งยืน ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมา 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers

มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารด้วยมาตรฐาน ISO 22000

สำหรับมาตรฐานระบบการจัดความปลอดภัยของอาหารของไอเอสโอ ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและควบคุมอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหารได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถนำไปใช้งานร่วมกับมาตรฐานการจัดการไอเอสโอฉบับอื่นได้ด้วยโดยสามารถนำไปใช้กับผู้ผลิตทุกประเภทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ช่วยให้ผลิตภัณฑ์สามารถส่งข้ามพรมแดนไปยังผู้บริโภคซึ่งทำให้พวกเขาไว้วางใจได้

เสริม EMS ด้วยการออกแบบเชิงนิเวศ “ISO 14006”

การออกแบบและการพัฒนาถือเป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งการออกแบบเชิงนิเวศได้รวมอยู่ในมาตรฐานฉบับนี้แล้ว คือ ISO 14006 – Environmental management systems — Guidelines for incorporating eco-design มาตรฐานฉบับนี้เป็นส่วนเสริมของมาตรฐานชุด ISO 14000 ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำสำหรับองค์กรที่ต้องการรวมการออกแบบเชิงนิเวศเข้ากับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ที่ใช้ ISO 14001 รวมทั้งองค์กรที่ใช้ระบบการจัดการอื่นๆ ก็สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้เช่นกัน

ISO 22301 ทางเลือกและทางรอดที่ยั่งยืนของธุรกิจยุคใหม่

ISO 22301 สามารถให้รายละเอียดมุมมองที่ชัดเจนว่าองค์กรควรดำเนินการอย่างไร และให้การนำเสนอข้อมูลเชิงลึกซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และการจัดการทรัพยากร